Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2453
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตกาแฟในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ปีการเพาะปลูก 2548/49
Other Titles: Cost and return from coffee production in 2005/2006, Kapoe District, Ranong Province
Authors: จรินทร์ เทศวานิช
ปรีชา แป้นนางรอง, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟ--ต้นทุนการผลิต
การแฟ--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ระนอง
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้ามีวัตถประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ระยะเวลาคุ้ม ทุนการผลิต และระยะเวลาที่ให้ผลคุ้มค่าในการลงทุนปลูกสวนกาแฟขนาด 15 ไร่ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ เก็บจากเจ้าของสวนกาแฟใน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จำนวน 50 ครัวเรือน เพื่อทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) วิเคราะห์หาระยะเวลาคุ้มทุนการผลิต โดยกำหนดอัตราคิดลดร้อยละ 6 8 และ 10 เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การลงทุนทำสวนกาแฟขนาด 15 ไร่ มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ซึ่งผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ประกอบด้วยมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) มีค่าบวก อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR ) มีค่ามากกว่า 1 และอัตรา ผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) มีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด โดยมีระยะเวลาคุ้มทุนการผลิตในปีที่ 7 ระยะเวลาที่เหมาะสมของโครงการซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดคือ 20 ปี ในกรณีที่ ต้นทุนหรือผลตอบแทนของโครงการเปลี่ยนแปลง โดยสมมติเกิดการเปลี่ยนแปลง 3 กรณี คือต้นทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ผลตอบแทนลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 10 และต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 รายได้ลดลงร้อยละ 5 ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน คือ มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิมีค่าเป็นบวก อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่า 1 และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุนมีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด แต่ที่อัตราคิดลดร้อยละ 10 กรณีให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 รายได้ลดลงร้อยละ 5 ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินปรากฎว่าค่าอัตรา ผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) ที่ได้ตํ่ากว่าค่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ร้อยละ 10 ทำให้กรณี นี้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งผลของการศึกษาเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการเพาะปลูกกาแฟ เพื่อระมัดระวังดูแลค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตลอดจนทราบถึงปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงทีและรัฐควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2453
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113534.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons