Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2457
Title: การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Agro-tourism management by communities in the Northeastern Region
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ษมาพร คงควร, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--การจัดการ
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเจ้าหน้าที่และ ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื่นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) ศักยภาพด้านพื้นที่และบุคลากรของ ชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (3) ระดับความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (4) ความต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ (5) สภาพปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งคณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่เป็นชาย คณะ กรรมการฯ มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีรายได้จากอาชีพหลักเฉลี่ย 9,483.3 บาท/เดือนและมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเฉลี่ย 1,073.7บาท/เดือน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับข้าวสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยคณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารจากสื่อวิทยุ ส่วนเจ้าหน้าที่ฯ ได้รับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยหน่วยงานที่เข้าอบรม คือ กรมส่งเสริมการเกษตรด้านข้อมูลปัจจัยชุมชน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนปีพ.ศ. 2548 เฉลี่ย 268.27 คน/เดือน โดยมีกิจกรรมที่ชุมชนนำมาประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการเที่ยวชมทรัพยากรธรรมชาติ รองลงมาเป็นการแปรรูปผลผลิตเกษตร การผลิตและทอผ้าไหม/ฝ้าย ไร่นาสวนผสม การผลิตสินค้าหัตถกรรม การทำสวนไม้ดอก การพกอยู่กับชาวบ้าน การทำสวนไม้ผล การทำประมง การผลิตผักปลอดสารพิษ การชมโบราณสถานและการชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ด้านข้อมูลศักยภาพในด้านต่างๆ และความสามารถด้านการบริหารวัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรฐานวิจัยพบว่าทั้งคณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ฯ มีความเห็นที่ตรงกันว่าชุมชนมีศักยภาพต้านพื้นที่ในระดับสูงมีศักยภาพต้านบุคลากรในระดับปานกลาง มีความสามารถด้านการบริหารจัดการในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการการสนับสบุนจากภาครัฐ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าชุมชนมีความต้องการฯ ในระดับมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่ฯ มีความเห็นว่าชุมชนมีความต้องการฯ ในระดับมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2457
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98073.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons