Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2465
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | จักรพงศ์ หาญบุญทรง, 2510- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-21T06:10:56Z | - |
dc.date.available | 2022-12-21T06:10:56Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2465 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน 2) วิเคราะห์แนวโน้มและดัชนีฤดูกาลของปริมาณการส่งออกทุเรียนสดและลำไยสด 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการส่งออกทุเรียนสดและลำไยสด 4) เสนอแนวทางการกำหนดกลยุทธ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสและรายปี ระหว่างปี 2547–2556 และพยากรณ์ค่าในอนาคตระหว่างปี 2557–2560 การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารต่างๆ และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประกอบธุรกิจส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจำแนกประเภทข้อมูล การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) และเทคนิค TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ปริมาณการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนรวมปี 2547-2556 สามอันดับแรกคือ อินโดนีเซีย ลาว และมาเลเซียตามลำดับ ปริมาณการส่งออกลำไยสดสามอันดับแรกคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และลาวตามลำดับ 2) การวิเคราะห์แนวโน้มพบว่า การส่งออกทุเรียนสดไปอินโดนีเซียและลาวมีแนวโน้มลดลง ส่วนมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปกลุ่มประชาคมอาเซียนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง การส่งออกลำไยสดไปอินโดนีเซียและลาวมีแนวโน้มลดลง ส่วนเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปกลุ่มประชาคมอาเซียนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง ส่วนดัชนีฤดูกาลปริมาณการส่งออกทุเรียนสดสูงสุดในไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ดัชนีฤดูกาลปริมาณการส่งออกลำไยสดสูงสุดในไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) การส่งออกในไตรมาสอื่นๆ มีน้อย (3) การวิเคราะห์จุดแข็ง พบว่า ผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี พื้นที่ปลูกและสภาพอากาศเหมาะสม เกษตรกรมีความชำนาญสูง มีเทคโนโลยีการเกษตรดี จุดอ่อนคือ ผลไม้เมืองร้อนเสียหายง่าย การใช้สารเคมีกับผลผลิต เกษตรกรบางรายขาดจริยธรรม ต่างชาติเข้ามารับซื้อผลผลิตเพื่อส่งออกเอง ด้านโอกาส การผลิตทุเรียนและลำไยมีคู่แข่งในต่างประเทศน้อย มีช่องทางการตลาดในกลุ่มร้านค้าสมัยใหม่ อุปสรรคคือ การพัฒนาการผลิตผลไม้ของหลายประเทศ มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า ภาวะการแข่งขันในตลาดผลไม้มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลการตลาดผลไม้ของกลุ่มประชาคมอาเซียนหาได้ยากและไม่ทันสมัย 4) กลยุทธ์สำคัญได้แก่ เกษตรกรควรปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทำ GAP ขยายการผลิตนอกฤดู ผู้รวบรวมและผู้ส่งออกเน้นควบคุมคุณภาพผลไม้ที่ส่งออก ผู้ส่งออกควรขยายช่องทางการตลาดและหาตลาดใหม่ หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างเต็มที่ ตรวจสอบสินค้าที่ส่งออกอย่างเข้มงวด เร่งเจรจาหาข้อยุติหรือผ่อนผันการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า ประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในงานแสดงสินค้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้รวบรวมและผู้ส่งออก เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นธรรมทางการค้า | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.81 | - |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ทุเรียน--การส่งออก | th_TH |
dc.subject | ลำไย--การส่งออก | th_TH |
dc.title | กลยุทธ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน | th_TH |
dc.title.alternative | Strategies for exporting Thai fresh durian and longan to the ASEAN Community Countries | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2013.81 | - |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to 1) study the situation of Thai fresh durian and longan export to ASEAN Community countries; 2) analyze the trend and seasonal index of Thai fresh durian and longan export; 3) analyze the strengths, weaknesses, opportunities, and threats of Thai fresh durian and longan exports; and 4) propose guideline strategies for Thai fresh durian and longan export to ASEAN Community countries. This was quantitative and qualitative research. The quantitative research used time series analysis. The analyzed data were quarterly and yearly data from 2004-2013, and the forecast period was 2014-2017. The qualitative research used secondary data and data from in-depth interviews with exporters. Data were analyzed by typological analysis, SWOT Analysis, and the TOWS matrix. The results showed that 1) the top three ASEAN Community countries to which Thailand exported the highest quantity of fresh durian during 2004-2013 were Indonesia, Laos, and Malaysia, respectively. The top three ASEAN Community countries to which Thailand exported the highest quantity of fresh longan were Indonesia, Vietnam, and Laos, respectively. 2) Trend analysis found that exports of fresh durian to Indonesia and Laos were declining, but exports to Malaysia were increasing, while total exports were declining. Exports of fresh longan to Indonesia and Laos were declining but exports to Vietnam were increasing, and total exports were declining. Seasonal index of fresh durian export quantity was highest in the second quarter (April-June), and fresh longan was highest in the third quarter (July-September), while export quantity during other quarters was small. 3) The SWOT analysis found that the strengths were good quality and good taste of the products, skilled farmers, and good technology support. The weaknesses were the delicate, easily-damaged nature of the fruits, chemical use by farmers, the use of unethical practices by some farmers, and competition from foreign traders who have come in to buy fruit themselves. The opportunities were that there are only a few competitors and that marketing channels have been opened through modern trade in other countries. The threats were non-tariff barriers from importing countries, a trend of higher competitiveness in ASEAN markets, and limited and out of date of market information. 4) The recommended strategies for Thai fruit exports are: farmers should improve production efficiency, implement GAP standard practice and out of season production; middlemen and exporters focus on quality control for fruit export; exporters should expand and create new markets for Thai fruit; the government should support farmers in production technology and knowledge, strictly examine export product, negotiate for reduction on non-tariff barriers, promote Thai fruit in trade exhibitions, and support collaboration among farmers, middlemen, and exporters to strengthen the supply chain and insure fair trade | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144815.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License