กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2465
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies for exporting Thai fresh durian and longan to the ASEAN Community Countries
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรพงศ์ หาญบุญทรง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การส่งออก
ลำไย--การส่งออก
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน 2) วิเคราะห์แนวโน้มและดัชนีฤดูกาลของปริมาณการส่งออกทุเรียนสดและลำไยสด 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการส่งออกทุเรียนสดและลำไยสด 4) เสนอแนวทางการกำหนดกลยุทธ์การส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทยสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสและรายปี ระหว่างปี 2547–2556 และพยากรณ์ค่าในอนาคตระหว่างปี 2557–2560 การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารต่างๆ และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประกอบธุรกิจส่งออกทุเรียนสดและลำไยสดของไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจำแนกประเภทข้อมูล การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) และเทคนิค TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า 1) ปริมาณการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนรวมปี 2547-2556 สามอันดับแรกคือ อินโดนีเซีย ลาว และมาเลเซียตามลำดับ ปริมาณการส่งออกลำไยสดสามอันดับแรกคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และลาวตามลำดับ 2) การวิเคราะห์แนวโน้มพบว่า การส่งออกทุเรียนสดไปอินโดนีเซียและลาวมีแนวโน้มลดลง ส่วนมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปกลุ่มประชาคมอาเซียนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง การส่งออกลำไยสดไปอินโดนีเซียและลาวมีแนวโน้มลดลง ส่วนเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปกลุ่มประชาคมอาเซียนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง ส่วนดัชนีฤดูกาลปริมาณการส่งออกทุเรียนสดสูงสุดในไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ดัชนีฤดูกาลปริมาณการส่งออกลำไยสดสูงสุดในไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) การส่งออกในไตรมาสอื่นๆ มีน้อย (3) การวิเคราะห์จุดแข็ง พบว่า ผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี พื้นที่ปลูกและสภาพอากาศเหมาะสม เกษตรกรมีความชำนาญสูง มีเทคโนโลยีการเกษตรดี จุดอ่อนคือ ผลไม้เมืองร้อนเสียหายง่าย การใช้สารเคมีกับผลผลิต เกษตรกรบางรายขาดจริยธรรม ต่างชาติเข้ามารับซื้อผลผลิตเพื่อส่งออกเอง ด้านโอกาส การผลิตทุเรียนและลำไยมีคู่แข่งในต่างประเทศน้อย มีช่องทางการตลาดในกลุ่มร้านค้าสมัยใหม่ อุปสรรคคือ การพัฒนาการผลิตผลไม้ของหลายประเทศ มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า ภาวะการแข่งขันในตลาดผลไม้มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลการตลาดผลไม้ของกลุ่มประชาคมอาเซียนหาได้ยากและไม่ทันสมัย 4) กลยุทธ์สำคัญได้แก่ เกษตรกรควรปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทำ GAP ขยายการผลิตนอกฤดู ผู้รวบรวมและผู้ส่งออกเน้นควบคุมคุณภาพผลไม้ที่ส่งออก ผู้ส่งออกควรขยายช่องทางการตลาดและหาตลาดใหม่ หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างเต็มที่ ตรวจสอบสินค้าที่ส่งออกอย่างเข้มงวด เร่งเจรจาหาข้อยุติหรือผ่อนผันการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า ประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในงานแสดงสินค้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้รวบรวมและผู้ส่งออก เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นธรรมทางการค้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2465
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144815.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons