Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2469
Title: ประเมินผลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราด้วยการป้องกันโรคยางพาราโดยชีววิธีในจังหวัดกระบี่
Other Titles: An evaluation of the project of increasing production efficiency and revenue in the rubber plantation by biological controls for para rubber pathogens in Krabi Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันธิญา ขวัญรอด, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--โรคและศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
ยางพารา--การปลูก
การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจังหวัดกระบี่ (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดาเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราในจังหวัดกระบี่ (3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันโรคยางพาราของเกษตรกรจังหวัดกระบี่ (4) การบรรลุผลในการดาเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มรายได้ในสวนยางพาราในจังหวัดกระบี่ (5) ปัญหา/อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางการส่งเสริมเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตร โคเดอร์มาป้องกันโรคยางพาราของเกษตรกรจังหวัดกระบี่ โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มเกษตรกรผู้จัดทาแปลงสาธิตและเรียนรู้และเกษตรกรกลุ่มขยายผลโครงการ รวมทั้ง สิ้น 182 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 43-50 ปี มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมีสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.08 ราย ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม ธกส.และเคยรับการฝึกอบรมโรคยางพารา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร มีรายได้15,001 – 30,000 บาท ต่อเดือนโดยมีรายได้จากยางพาราน้อยกว่า 15,001 บาท ต่อเดือน มีพื้นที่ทางการเกษตรน้อยกว่า 21 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราน้อยกว่า 11 ไร่มีประสบการณ์ในทาสวนยางพารา 16-20 ปี ส่วนใหญ่กรีดยางด้วยตนเอง โดยนิยมปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และใส่ปุ๋ยยางพาราทุกคนโดยใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เคยประสบปัญหาโรคยางพารา โดยเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการดาเนินงานโครงการระดับมาก และส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องโรคยางพาราอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์โครงการในระดับมาก โดยเฉพาะในประเด็นได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการประชุมซึ่งอยู่ในระดับมาก ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรตาบลต่อการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ในประเด็นระยะเวลาดาเนินโครงการ 1 ปี และแปลงสาธิต 1 จุด/ตาบล เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เกษตรมีความสนใจและต้องการให้มีแปลงสาธิตทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2469
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145882.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons