กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2471
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าลายลูกแก้วบ้านนิคมเขตเจ็ด ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developmental guidelines of Thai silk brocade community enterprise at Ban Nikhom Khet Jed, Nikhom Phatthana Sub-district, Khukhan District, Si Sa Ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชญาดา ชัยศรีษะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการและการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าลายลูกแก้วบ้านนิคมเขตเจ็ด ตาบลนิคมพัฒนา อาเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) สภาพทั่วไปของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ความคิดเห็นของสมาชิกด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน 4) ความคิดเห็นของสมาชิกด้านผลลัพธ์ความสาเร็จวิสาหกิจชุมชน 5) ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ 6) แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าลายลูกแก้วบ้านนิคมเขตเจ็ด จานวน 20 คน เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มกับผู้นาชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จานวน 5 คน ใช้แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าลายลูกแก้วบ้านนิคมเขตเจ็ด ตาบลนิคมพัฒนา อาเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกร ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ได้รับการประเมินศักยภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2556 อยู่ในระดับดี 2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีอายุเฉลี่ย 53.4 ปี เพศหญิงทั้งหมด แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน ร้อยละ 85 เป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกลุ่ม เป็นสมาชิกกลุ่ม 15 คน และคณะกรรมการ 5 คน ร้อยละ 90 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพและรายได้หลักมาจากการเกษตรทั้งหมด ทอผ้าในเวลาว่างและหลังฤดูกาลเพาะปลูก 3) สมาชิกมีความพึงพอใจมากที่สุดในการบริหารตลาด และการจัดการสินค้าหรือบริการ มีความพึงพอใจมากในด้านผู้นาและการบริหารวิสาหกิจชุมชน การวางแผนดาเนินงาน การจัดการความรู้และข้อมูล มีความพึงพอใจปานกลางในการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 4) ด้านผลลัพธ์ความสาเร็จของวิสาหกิจชุมชน พบว่า สมาชิกมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านคุณภาพสินค้าหรือบริการและด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกพึงพอใจมากด้านผลลัพธ์ตามภารกิจของวิสาหกิจและประสิทธิภาพของการดาเนินงาน 5) ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนพบว่า สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี มีการวางแผนการผลิตของสมาชิกร่วมกัน รักษาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มีการจัดทาบัญชีและนามาใช้ประโยชน์ได้ ผู้นาได้รับการยอมรับจากสมาชิกและชุมชน มีการบันทึกลวดลายผ้าและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ และการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานภาคี 6) แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ด้านการพัฒนาสมาชิกกลุ่มคือ การฝึกอบรมการสื่อสารภาษากลางและภาษาอังกฤษพื้นฐาน ปรับทักษะการทอผ้าให้สูงขึ้น และส่งเสริมการออม ด้านการพัฒนาการผลิตและการตลาดคือ การจัดทาแผนการทอผ้าร่วมกับการวางแผนทางการเกษตร แบ่งเกรดสินค้าและกาหนดราคาให้เหมาะสม ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ คือ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้และรับสมัครสมาชิกกลุ่มรุ่นใหม่ ด้านการพัฒนาสินค้าและเครือข่าย คือ การขยายสาขาการผลิตหรือเครือข่ายการผลิต เสริมทักษะด้านอื่นๆ ให้กับสมาชิก และผลิตหรือแปรรูปผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2471
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145890.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons