Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2477
Title: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2541 และ ปี พ.ศ. 2542-2548 |
Other Titles: | Comparative analysis of credit lending behavior of Thai Commercial Banks during 1993-1998 and 1999-2005 |
Authors: | มนูญ โต๊ะยามา ปาริชาติ วงศ์สุข, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สินเชื่อ เงินกู้ธนาคาร การกู้ยืมธนาคาร การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ (1) พฤติกรรมและลักษณะการ ปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยระหว่างปี 2536-2541 และปี 2542-2548 (2) ความสัมพ้นธ์ ระหว่างสินเชื่อรายภาคเศรษฐกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจำแนกตามสาขาการผลิตระหว่างปี 2536-2451 และปี 2542-2548 การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณการวิเคราะห์ใช้การวัดค่าการกระจุกตัวของการปล่อยสินเชื่อตามรายภาคเศรษฐกิจในรูปแบบของอัตราส่วนการกระจุกตัว (CRn) ซึ่งใช้วัดการกระจุกตัวบางส่วน และดัชนี Herfindahl Hirschman ที่วัดค่าการกระจุกตัวโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า (1) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยที่พิจารณาจากสินเชื่อรายภาคเศรษฐกิจในช่วงปี 2542-2548 ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 5 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ภาคตัวกลางทางการเงิน และภาคการบริการโดยมีค่าการกระจุกตัว (CR5) เท่ากับ 0.80 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2536-2541 ค่าการกระจุกตัวของ 4ภาคเศรษฐกิจ (CR4) มีค่าเท่ากับ 0.66 ที่ประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าปลีกและค้าส่ง ภาคอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้พบว่าการกระจุกตัวของสินเชื่อปี 2542-2548 มีแนวโน้มสูงขึ้นจากช่วง ปี 2536-2541 (2) สินเชื่อรายภาคเศรษฐกิจต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ ปี2531 ในช่วงปี 2542-2548 ที่มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาคตัวกลางทางการเงิน ภาคอลังหาริมทรัพย์ ภาคการก่อสร้าง ภาคการค้า ภาคบริการ โรงแรมและภัตตาคาร เทียบกับในช่วงปี 2536-2541 ที่ประกอบด้วย 5 อันดับแรกได้แก่ ภาค เศรษฐกิจที่ได้รับการปล่อยสินเชื่อต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ปี 2531 ได้แก่ ภาคการธนาคารประกันภัยและอลังหาริมทรัพย์ ภาคการค้าส่งและค้าปลีก ภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการ ซึ่งผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาคเศรษฐกิจที่ได้รับจัดสรรสินเชื่อต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ ปี 2531 สูงสุด 5 อันดับ ย้งเปีนภาคเศรษฐกิจที่อยู่ในกลุ่มเดิม |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2477 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112599.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License