กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2483
ชื่อเรื่อง: กระบวนการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The process of para rubber plantation by farmers in Pak Tho District of Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิทธิชัย ลิ้มติ้ว, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
สวนยาง--ไทย--ราชบุรี
ยางพารา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร(2) กระบวนการปลูกและดูแลรักษาสวนยางพาราของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำสวนยางพาราที่เหมาะสมของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกันอายุเฉลี่ย 50.51 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาส่วนใหญ่สูงกว่าขั้นประถมศึกษา เป็นสมาชิกลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สวนยางพาราส่วนใหญ่อยู่ในระยะกาลังเจริญเติบโตยังไม่มีผลผลิตปลูกสับปะรดเป็นพืชแซม รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำไร่และอาชีพนอกภาคการเกษตร รายได้รวมเฉลี่ย 406,707 บาท/ปี ส่วนรายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 128,219.76 บาท/ปี พื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 43.39ไร่/คน เริ่มปลูกยางพารามากในช่วงปี 2550 -2553 จากเหตุผลราคายางพาราตอนเริ่มปลูกและจากการแนะนำของเพื่อนเกษตรกรปลูกยางพาราด้วยเงินทุนของตนเอง ประสบการณ์ทำสวนยางพารา 6 - 10 ปี มีพื้นที่ทำสวนยางเป็นของตนเองเฉลี่ย 24.25 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบและเนินเขา ดินมีทั้งดินร่วนปนหินและดินร่วนปนทรายซึ่งเคยปลูกพืชไร่มาก่อนอาศัยน้ำฝนในการทำสวนยางเป็นหลัก มีแหล่งน้ำในสวนยางซึ่งเป็นสระน้ำ/บ่อน้ำที่ขุดเอง แรงงานทำสวนยาง 1-2 คน ปลูกพันธุ์ RRIM 600 สวนยางที่กรีดแล้วจะผลิตเป็นยางก้อน/ขี้ยางมากกว่ายางแผ่น และเห็นว่าราคายางขั้นต่ำ (ยางแผ่น) ควรอยู่ที่ 81.05 บาท/กิโลกรัม (2) ก่อนปลูกมีการเตรียมพื้นที่ด้วยการไถพรวน ใช้ระยะปลูก 3x6 เมตร และ 3x7 เมตร เกือบครึ่งไม่มีการรองก้นหลุม การปลูกซ่อมจะทำในช่วง 1 ปีแรก การตัดแต่งกิ่งยางพาราจะดูแลตัดแต่งกิ่งยางพาราเป็นประจำทุกเดือนหรือมีการตัดแต่งเป็นประจำทุกปี ก่อนเปิดกรีดใส่ปุ๋ยปีละ 1 ครั้ง เมื่อกรีดแล้วใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ด้วยการหว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ กำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีและวิธีตัด พบการระบาดของศัตรูยางพาราน้อยและไม่มีการจัดการ (3) ภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับปานกลาง ปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของราคายางและการสนับสนุนจากรัฐ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำสวนยางพาราของเกษตรกรที่เหมาะสมที่สุดคือการอบรมและสาธิตวิธีการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2483
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146056.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons