Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2485
Title: | การจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตข้าวของชาวนาตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Soil and Fertilizer management in rice production of farmers in Samokhae Sub-district, Mueang District, Phitsanulok Province |
Authors: | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา คชามาศ ต่ายหัวดง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ การจัดการดิน--ไทย--พิษณุโลก ข้าว--ดิน ข้าว--การผลิต--ไทย--พิษณุโลก ข้าว--ปุ๋ย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของชาวนา ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) ความรู้ในการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตข้าวของชาวนา 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตข้าวของชาวนา และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตข้าวของชาวนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวนามีอายุเฉลี่ย 56.8 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพเสริมรับจ้าง ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีแรงงานในครัวเรือนผลิตข้าวนาปีและนาปรังเฉลี่ย 1.44 และ 1.54 คน ตามลำดับ มีรายได้จากการผลิตข้าวนาปีและนาปรังเฉลี่ย 4,713.07 และ 6,314.60 บาทต่อไร่ ตามลำดับ มีผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังเฉลี่ย 506.08 และ770.04 กิโลกรัมต่อไร่ ชาวนาส่วนใหญ่มีเครื่องมือทำนาเป็นของตนเอง ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นสารเคมี เครื่องหว่านเมล็ดข้าวและปุ๋ย ชาวนาส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ในภาพรวมชาวนามีความรู้ถูกต้องตามหลักวิชาการเกี่ยวกับการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตข้าวระดับมากที่สุด 3) ชาวนาส่วนใหญ่มีการเตรียมดิน และมีการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ระยะกำเนิดช่อดอก มีการใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโค มูลกระบือ และมูลไก่ มีการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักจากเศษซากพืช ชาวนาไม่มีการ ไถกลบพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และโสนอัฟริกัน มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในขั้นตอนเตรียมดินและแช่เมล็ดพันธุ์ ชาวนาไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินและไม่มีการส่งดินไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร 4) ปัญหาการจัดการดินและปุ๋ยที่สาคัญคือ สภาพพื้นที่ยากต่อการเตรียมดิน ปุ๋ยเคมีราคาแพง ปุ๋ยคอกใช้แล้วมีวัชพืชมาก ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำยุ่งยาก ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ขาดแคลนแรงงาน และไม่ทราบสภาพดิน ดังนั้น จึงเสนอแนะให้หน่วยงานราชการรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบารุงดินในการผลิตข้าวให้ชาวนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2485 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146060.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License