กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2489
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนและการปรับสู่ดุลยภาพระยะยาวของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting exchange rate and adjustment to long run equilibrium of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ระวีวรรณ มาลัยวรรณ พรชัย แซ่ก๊วย, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสต--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อัตราแลกเปลี่ยน--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะยาวตามแนวคิดทางการเงิน (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะสั้น และการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวที่ประยุกต์ขึ้นจาก แนวคิดทางการเงิน (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้นและระยะยาววิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน และวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใข้ข้อมูลทางเศรษฐกิจประมาณค่าทางสถิตอธิบายถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะยาวโดยอาศัยแบบจำลองตามแนวคิดทางการเงินเมื่อราคาสินค้าปรับเปลี่ยนง่าย และใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกฅ์มาจากแบบจำลองตามแนวคิดทางการเงินเมื่อราคาสินค้าปรับเปลี่ยนยาก อธิบายถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะสั้นและการปรับสู่ดุลยภาพในระยะยาวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ในการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพได้อาศัยวิธี Cointegration และการประมาณค่าแบบจำลองได้ใช้ Error Correction Model (ECM) ตามวิธีการของ Engle and Granger จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอัทธิพลต่อการกำหนดดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะยาว คือ ปริมาณเงินโดยเปรียบเทียบและอัตราเงินเพื่อโดยเปรียบเทียบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตรา แลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ประชาชาติที่แท้จริงโดยเปรียบเทียบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลดลง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในระยะสั้น คือ ปริมาณเงินโดยเปรียบเทียบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ประชาชาติที่แท้จริงโดยเปรียบเทียบ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงโดยเปรียบเทียบ อัตราเงินเฟ้อโดยเปรียบเทียบ และเงินทุนเคลื่อนย้าย สุทธิโดยเปรียบเทียบที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลดลงโดยในระยะสั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดการเบี่ยงเบนออกจากดุลยภาพระยะยาว จะมีการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวในที่สุด ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงโดยเปรียบเทียบและอัตราเงินเฟ้อโดยเปรียบเทียบไม่เป็นไปตามข้อสมมติของแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นที่กำหนดให้เมื่อปัจจัยทั้งสองเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น อันอาจเกิดจากการที่ภาครัฐเข้าใช้นโยบายแทรกแซงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและควบคุมอัตราเงินเฟ้อในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2489 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
121961.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License