กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2493
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการว่างงานของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Economic factors affecting unemployment of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรินทร์ หาญเจริญ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี. | การว่างงาน -- ไทย. | การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์.
การว่างงาน -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการว่างงานของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การมีงานทำและการว่างงาน รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการว่างงานของ ประเทศไทยในช่วงปื 2535-2549 การศึกษานี้ ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลทุติยภมิระหว่างปี 2535-2549 ซึ่งรวบรวมจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจกับการว่างงาน ปัจจัยทาง เศรษฐกิจที่นำมาศึกษาประกอบด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราค่าจ้างขั้นตํ่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ การลงทุนของภาครัฐบาล และการลงทุนของภาคเอกชน ผู้ศึกษาทำการศึกษาเชิง พรรณนาในรูปของตาราง แผนภูมิ และค่าร้อยล่ะ ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้ศึกษาใช้แบบจำลอง สมการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่นำมาศึกษาคือการลงทุนของภาคเอกชนมีผล ต่อการว่างงานของประเทศไทย ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจตัวอื่นที่นำมาศึกษา ได้แก่ ดัชนีราคา ผู้บริโภคอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและการลงทุนของภาครัฐบาลไม่มี ผลต่อการว่างงาน ซึ่งไม่เป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีที่กำหนด เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประการ แรกในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่นำมาศึกษาซึ่งเป็นตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กัน จึงต้องใชัวิธี Stepwise Selection ในการคัดเลือกตัวแปรอิสระเข้าแบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ผลการคัดเลือกตัวแปรอิสระด้วยวิธี Stepwise Selection พบว่าการลงทุนของภาคเอกชนเป็นตัวแปรอิสระเพียงตัวเดียวที่มี ผลต่อการว่างงาน เหตุผลประการที่สองคือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจตัวอื่นที่ไม่ได้นำมาศึกษามีผลต่อการ ว่างงานมากกว่าตัวแปรอิสระที่อยู่ในแบบจำลองที่ศึกษา เช่น การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อ ทดแทนแรงงาน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ได้แก่ราคาน้ำมัน วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศมีราคา สูงขึ้นเนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่ามากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตลอดจนนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล ในการลดผลกระทบหรือบรรเทาปัญหาการว่างงาน เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตกัณฑ์ เป็นต้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2493
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119270.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons