กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2503
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of income change of farmers under the assets capitalization policy : the case study of Kaset Wisai Land Reform Beneficiaries, Roi Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพโรจน์ รุ่งพนารัตน์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกร -- รายได้
การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกร หลังจากเข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงศึกษาปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าร่วม โครงการ ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเฉพาะผู้ ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาเกษตรวิสัย จังหวัดรัอยเอ็ด ที่ ยังคงมีหนี้เงินกู้คงเหลืออยู่กับธนาคาร ณ 31 มีนาคม พ.ศ.2551 (ปีบัญชี2550) การศึกษานี้ได้ข้อมูลข้อมูลปฐมภูมิ จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการจำนวน 107 ราย และข้อมูลทุติยภูมิจากส่วนงานต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นโดยโช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่การใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การ ทดสอบด้วยเทคนิควิเคราะห์การถดถอย โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปรอิสระมีผลต่อตัว แปรตามหรือการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เกินครึ่งหนึ่งของกลุ่ม ตัวอย่าง มีรายได้ทั้งภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคการเกษตร อยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ รายได้ก่อนได้รับเงินกู้หรือก่อนเข้าร่วมโครงการ และมีบางส่วนที่มีรายได้ทั้งภาคการเกษตรและรายได้ นอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้ และไม่มีรายใดที่รายได้ลดลง ซึ่งตัวแปร รายได้ก่อนกู้ภาคการเกษตร รายได้นอกภาคการเกษตร จำนวนถือครองที่ดิน และจำนวนครั้งในการอบรม สามารถนำมาใช้พยากรณ์รายได้หลังกู้เงินภาคการเกษตรได้อย่างมีนัยสำสัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ พบว่ามีเกษตรกรมีปัญหาที่ต้องการได้รับการแก้ไขปัญหาหลักๆ ได้แก่ การได้รับเงินกู้ไม่เพียงพอต่อความ ต้องการ ปัญหาไม่ได้รับการอบรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ปัญหาความไม่สะดวกในการ ติดต่อ และปัญหาความล่าช้าในการออกเอกสารแสดงสิทธิ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2503
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122078.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons