กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2508
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relation between value added tax and gross domestic product Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภารดี เสือจงภู, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในสองสาขาการผลิต คือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่งการขายปลีก 2) ศึกษาสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อรายได้ของรัฐบาลและสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 3) ศึกษาความสำคัญของภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีต่อการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของประเทศ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสในช่วงปี 2543 – 2552 ได้แก่ ข้อมูลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย ใช้สมการถดถอยพหุคูณ ส่วนการศึกษาสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อรายได้ของรัฐบาลและสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ รวมถึงการศึกษาความสำคัญของภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีต่อการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของประเทศ ศึกษาโดยวิธีเชิงพรรณนา ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทยในสองสาขาการผลิต คือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่งการขายปลีก พบว่า 1) รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาอุตสาหกรรมในทิศทางเดียวกัน แต่มีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาการขายส่งการขายปลีกในทิศทางตรงกันข้าม ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากการกำหนดโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มของรัฐ ที่ให้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการขายส่งการขายปลีกบางประเภท การยกเว้นการประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก เป็นต้น 2) ผลการศึกษาสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อรายได้ของรัฐบาลและสัดส่วนของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ พบว่า รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลและสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ประเภทอื่นๆ 3) ผลการศึกษาความสำคัญของภาษีมูลค่าเพิ่มมีต่อการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของประเทศ พบว่าภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง โดยผ่านการกำหนดนโยบายการคลังด้านภาษี
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2508
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
123102.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons