Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2510
Title: ความต้องการการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของสวนสับปะรดภูเก็ต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Agro-tourism extension needs for Phuket Pineapple plantation in Thalang District of Phuket Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐดนัย ก้องเอกภพ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย--ภูเก็ต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมสวนสับปะรดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 4) แนวทางการพัฒนาสวนสับปะรดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.97 ปี ส่วนมากได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 24.14 ไร่ พื้นที่ปลูกสับปะรดเฉลี่ย 26.042 ไร่ ส่วนใหญ่เช่าพื้นที่หรือใช้พื้นที่สวนยางพาราของบุคคลอื่น ปริมาณผลผลิตสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่เฉลี่ย 3.2 ตัน เกษตรกรส่วนใหญ่ ปลูกสับปะรดภูเก็ตแซมสวนยางพารา ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่เฉลี่ย 14,867.22 บาท รายได้เฉลี่ยต่อไร่เฉลี่ย 28,322 บาท เกษตรกรร้อยละ 58.3 มีความคิดเห็นว่าสวนสับปะรดภูเก็ตสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเด็น ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การเตรียมความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดการสิ่งอานวยความสะดวกและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดการอาหาร เครื่องดื่ม และของฝาก และที่พักแรม 3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้ในระดับปานกลาง ด้านความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้องการความรู้ทุกประเด็นในระดับปานกลางผ่านช่องทางเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรผู้นา และอินเทอร์เน็ต ต้องการวิธีการส่งเสริมสวนสับปะรดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระดับปานกลาง จากการทัศนศึกษา การฝึกอบรม การประชุมกลุ่ม และการสาธิต 4) แนวทางการพัฒนาสวนสับปะรดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้แก่ พัฒนาตัวเกษตรกรในด้านความรู้ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง พัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในด้านความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พัฒนาสวนสับปะรดภูเก็ตให้มีความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้มีความหลากหลาย มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรประเภทแหล่งผลิตหรือพื้นที่เฉพาะทางการเกษตร และประชาสัมพันธ์สับปะรดภูเก็ตให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2510
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146067.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons