Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2511
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนีย์ ศิลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภัทริยา กุลชล, 2507--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-26T03:50:17Z-
dc.date.available2022-12-26T03:50:17Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2511-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของการส่งออกสินค้ารวม สินค้าภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ที่มีฅ่อความเจริญเติบโดทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ใช้นโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและช่วงเวลาที่ใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออก ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา แบ่งข้อมูลที่ศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2509 - 2524 กับช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2525 - 2550 ทั้งนี้เนื่องจากตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2515 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เปลี่ยนจากนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ ผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้าไปเป็นนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก แต่ได้มีการนำ นโยบายดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2509) โดยในการศึกษา จะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการสร้างสมการใน รูปแบบสมการถดถอยพหุคูณ ทำการประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares) ผลการวิจัยพบว่า (1) มูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกรวมมีผลกระทบในทางบวกต่ออัตรา ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยในช่วงเวลาที่ใช้นโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เมื่ออัตราของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออก รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.191905 และช่วงเวลาที่ใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออก เมื่ออัตราของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0950758 ในส่วน ของภาคเกษตรกรรม อัตราการเพิ่มของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกภาคเกษตรกรรมมีผลกระทบต่อ อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงแรกร้อยละ 0.109767 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่ในช่วงที่สอง ผลที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือระดับความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ สำหรับ ภาคอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกภาคอุตสาหกรรมต่อัตราความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงแรก ผลที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือระดับความเชื่อมั่นที่ ยอมรับได้ แต่ในช่วงที่สอง มีผลกระทบต่ออัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศร้อยละ 0.0747922 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 (2) การใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออกของภาครัฐส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจากการผลิต และส่งออกสินค้าภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการส่งออก -- ไทยth_TH
dc.subjectสินค้าเกษตร -- ไทย -- การผลิตth_TH
dc.subjectสินค้าอุตสาหกรรม -- ไทย -- การผลิตth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleผลกระทบของนโยบายส่งเสริมการส่งออกต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeImpacts of export promotion policy on economic growth of Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรดุษฏีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128484.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons