กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2511
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของนโยบายส่งเสริมการส่งออกต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Impacts of export promotion policy on economic growth of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนีย์ ศิลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทริยา กุลชล, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การส่งออก -- ไทย
สินค้าเกษตร -- ไทย -- การผลิต
สินค้าอุตสาหกรรม -- ไทย -- การผลิต
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของการส่งออกสินค้ารวม สินค้าภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ที่มีฅ่อความเจริญเติบโดทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ใช้นโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและช่วงเวลาที่ใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออก ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา แบ่งข้อมูลที่ศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2509 - 2524 กับช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2525 - 2550 ทั้งนี้เนื่องจากตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2515 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เปลี่ยนจากนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ ผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้าไปเป็นนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก แต่ได้มีการนำ นโยบายดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2509) โดยในการศึกษา จะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการสร้างสมการใน รูปแบบสมการถดถอยพหุคูณ ทำการประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares) ผลการวิจัยพบว่า (1) มูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกรวมมีผลกระทบในทางบวกต่ออัตรา ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยในช่วงเวลาที่ใช้นโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เมื่ออัตราของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออก รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.191905 และช่วงเวลาที่ใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออก เมื่ออัตราของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 จะทำให้อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0950758 ในส่วน ของภาคเกษตรกรรม อัตราการเพิ่มของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกภาคเกษตรกรรมมีผลกระทบต่อ อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงแรกร้อยละ 0.109767 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่ในช่วงที่สอง ผลที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือระดับความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ สำหรับ ภาคอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มของมูลค่าที่แท้จริงจากการส่งออกภาคอุตสาหกรรมต่อัตราความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงแรก ผลที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือระดับความเชื่อมั่นที่ ยอมรับได้ แต่ในช่วงที่สอง มีผลกระทบต่ออัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศร้อยละ 0.0747922 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 (2) การใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออกของภาครัฐส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจากการผลิต และส่งออกสินค้าภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128484.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons