กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2518
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของข้าราชการพลเรือนสามัญในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of consumption behavior of Civil Servants in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา ตั้งทางธรรม
มนัส จันดี, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการพลเรือน--ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาระดับรายได้ที่สมดุลกับการบริโภค 2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคตามทฤษฏีการบริโภคแบบรายได้สัมบูรณ์ และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคตามหลักทฤษฏีการบริโภคแบบวงจรชีวิต ของครัวเรือนข้าราชการพลเรือนสามัญ วิธีการศึกษาใช้แบบจำลองสมการถดถอยอย่างง่าย และใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2549 ของสำนักงานสถิตแห่งชาติ โดยสุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,996 ตัวอย่างจากจำนวนข้าราชการทั้งสิ้น 363,624 ราย ผลการศึกษาพบว่ารายได้ของครอบครัวข้าราชการพลเรือนสามัญ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า MPC เท่ากับ 0.67 ค่าการบริโภคอัตโนมัติ 7,822.81 บาทต่อ เดือน และค่าระดับรายได้ที่สมดุลกับการบริโภค 23,887 บาทต่อเดือน เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นการบริโภคก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ ครัวเรือนของข้าราชการที่มีระดับตำแหน่งสูงขึ้นจะมีค่า MPC ลดลง กล่าวคือตำแหน่งระดับ 1-2 มีค่า MPC เท่ากับ 0.91 ระดับ 3 - 8 เท่ากับ 0.79, 0.74, 0.70,0.69, 0.64, 0.60 และระดับ 9-11 เท่ากับ 0.55 ตามลำดับ อายุของข้าราชการก็มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกับการบริโภค โดยผู้ที่อยู่ในวัยเริ่มทำงานช่วงอายุน้อยกว่า 25 ปี มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคครัวเรือนละ 14,985.33 บาทต่อเดือนและในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไปมีค่าใช้จ่าย 51,069.77 บาท ในขณะที่ช่วงอายูตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึง 34 ปี รายได้ของครัวเรือนจะต่ำกว่าการบริโภคเล็กน้อย ช่วงอายู 35-44 ปี รายได้เข้าสู่ภาวะสมดุลกับการบริโภคและเมื่ออายู 45 ปืขึ้นไปรายได้จะสูงกว่าการบริโภครัฐบาลควรเพิ่มรายได้หรือจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคซึ่งได้แก่ข้าราชการระดับ 1-4 เพื่อให้ครอบครัวของข้าราชการในกลุ่มนี้มีรายได้สมดุลกับ ค่าใช้จ่ายในการบริโภค รัฐบาลควรเพิ่มรายได้เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินเดือนรวมกับค่าตอบแทนพิเศษเพื่อการครองชีพชั่วคราวให้ข้าราชการแต่ละคนได้รับไม่ตำกว่าเดือนละ 14,766 บาท
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2518
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127385.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons