Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2524
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorยุทธนา เอี่ยมสมบัติ, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-27T02:47:09Z-
dc.date.available2022-12-27T02:47:09Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2524-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของหน่วยธุรกิจ ปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดของหน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย 2) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย 3) พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย และ 4) ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในประเทศไทย วิธีที่ใช้ในการศึกษา ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรม ปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดโดยวิเคราะห์จากเอกสารและปริมาณการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่รวบรวมโดยกรมธุรกิจพลังงาน ศึกษาโครงสร้างตลาดโดยวิเคราะห์จากค่าอัตราส่วนการกระจุกตัว ดัชนีเฮอร์ฟินดาล-เฮิร์ซแมน ดัชนีเฮนน่าแอนด์เคและอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของหน่วยธุรกิจรายใหม่ ศึกษาพฤติกรรมการแข่งขันโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยธุรกิจ จำนวน 30 ราย จากประชากร 20 บริษัทในช่วงเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาผลการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม ผลการศึกษาพบว่า 1) อุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีหน่วยธุรกิจ 20 บริษัทแบ่งเป็น หน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ 4 บริษัท ขนาดกลาง 7 บริษัท ขนาดเล็ก 9 บริษัท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีปริมาณการจำหน่ายและส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 2) โครงสร้างตลาดอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวจัดอยู่ในตลาดผู้ขายน้อยรายที่มีลักษณะของสินค้าเหมือนกัน มีค่าการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง มีค่า Cr4 เท่ากับ 0.84 ดัชนีเฮอร์ฟินดาล-เฮิร์ซแมนเท่ากับ 0.23 และดัชนีเฮนน่าแอนด์เคที่แสดงถึงหน่วยธุรกิจที่มีอิทธิพลในตลาด 4 รายและหน่วยธุรกิจรายใหม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดค่อนข้างสูง 3) พฤติกรรมการแข่งขันมีทั้งด้านราคาและไม่ใช่ราคา หน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา ส่วนหน่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้านราคา พฤติกรรมในการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาที่หน่วยธุรกิจนิยมใช้มากที่สุดคือ การส่งเสริมการขายด้วยการให้ของสมนาคุณรองลงมาคือการให้สิทธิพิเศษตามปริมาณการสั่งซื้อ การให้ความรู้กับลูกค้าและ การโฆษณาตามลำดับ 4) ผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ในช่วงปี พ.ศ.2553-2555 มีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเฉลี่ยมีค่า 1.71 หน่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเฉลี่ยมีค่า -13.6 และ -218.96 ตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการแข่งขันทางการค้าth_TH
dc.subjectก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลวth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleโครงสร้างตลาด พฤติกรรมการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก๊าซปิโตเลียมเหลวในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMarket structure, conduct and performance of liquefied petroleum gas industry in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were to study: 1) the general background total sale volume and market share of business units in liquefied petroleum gas industry in Thailand; 2) the market structure of the liquefied petroleum gas industry in Thailand; 3) the conduct of the liquefied petroleum gas industry in Thailand; and 4) the performance of liquefied petroleum gas industry in Thailand. Methods used for the study of the general background total sale volume and market share were: analysis from documents and sale volume recorded by Department of Energy Business; the market structure were: Concentration Ratio (Crn), Herfindahl – Hirschman Index (HHI), Hannah and Kay Index (HK); and in-depth interview in barriers to entry; the conduct were: in-depth interview chief executive of business unit in liquefied petroleum gas industry 30 persons from population 20 companies in July – August 2013; the performance were: analysis from ratio of net profit per net income. The study findings were as follows. 1) The market structure of liquefied petroleum gas industry consisted of 20 firms divided into large, medium and small firms as 4, 7 and 9 companies respectively, and PTT Plc had maximum sales and market share. 2) The market structure could be classified as the pure oligopoly market with a high level of industrial concentration. The CR4 index of concentration was 0.84, HHI index was 0.23 and the HK index which indicated the 4 firms influencing the market and new firms likely facing high market entry; 3) The market conduct of the firms in the industry included both price and non-price strategies. In the competition, large firms preferred to use a non-price strategy but the medium and small companies preferred to use a price strategy. The non-price strategy mostly applied premium promotion, privilege promotion on sale volume, customer training and advertising respectively. 4) Concerning the performance, the average ratio of net profit per income of large firms during 2010-2012 was 1.71 but for the medium and small firms were -13.6 and -218.96 respectivelyen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140169.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons