Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2533
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา ตั้งทางธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | รุ่งทิวา ชาญจิตร, 2512- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-28T02:11:17Z | - |
dc.date.available | 2022-12-28T02:11:17Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2533 | - |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างของภาษีสรรพากรประเภทภาษีที่ สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงมาตรการภาษีในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2544-2549 2) ศึกษาและเปรียบเทียบ ความสามารถในการจัดเก็บภาษีและความพยายามในการจัดเก็บภาษีโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลาเป็นรายไตรมาสตั้งแต่ปีภาษี 2544-2549 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการค่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีและสมการค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีโดยอาศัยแบบจำลองถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา ผลการศึกษาพบว่าค่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีทุกประเภทขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดและขึ้นกับภาคโรงแรมและการท่องเที่ยวน้อยที่สุดตรงตามสมมติฐาน แต่ในภาคเกษตรกรรมไม่เป็นไปตามสมมติฐานสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากภาคเกษตรกรรมได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้เก็บจากการประกอบกิจการในกลุ่มนี้ และภาคการค้าสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน อัตราดอกเบี้ยผันผวน ปัญหาราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตทำให้จัดเก็บได้ลดลง ค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บภาษีแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ส่วนดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีนั้นพบว่ามีเพียงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีค่าต่ำกว่า 1 เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความสามารถในการจัดเก็บภาษีและดัชนีความพยายามในการ จัดเก็บภาษี พบว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไตรมาสที่ 1 และภารเงินได้นิติบุคคลในไตรมาสที่ 2 - 3 ของทุกปีมีค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บและค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บสูงกว่า ช่วงเวลาอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงการอื่นแบบเสียภาษีประจำปี ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ พบว่าค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บมีค่าค่อนข้างคงที่ในแต่ละไตรมาส และมีค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บค่อนข้างสูง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 | th_TH |
dc.subject | การจัดเก็บภาษี | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์. | th_TH |
dc.title | การศึกษาการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร : กรณีศึกษาสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 | th_TH |
dc.title.alternative | Administration of tax collection : a case study of Bangkok Area Revenue Office 14 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112591.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License