กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2533
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร : กรณีศึกษาสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administration of tax collection : a case study of Bangkok Area Revenue Office 14 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาดา ตั้งทางธรรม รุ่งทิวา ชาญจิตร, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 การจัดเก็บภาษี การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์. |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างของภาษีสรรพากรประเภทภาษีที่ สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงมาตรการภาษีในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2544-2549 2) ศึกษาและเปรียบเทียบ ความสามารถในการจัดเก็บภาษีและความพยายามในการจัดเก็บภาษีโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลาเป็นรายไตรมาสตั้งแต่ปีภาษี 2544-2549 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการค่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีและสมการค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีโดยอาศัยแบบจำลองถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา ผลการศึกษาพบว่าค่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีทุกประเภทขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดและขึ้นกับภาคโรงแรมและการท่องเที่ยวน้อยที่สุดตรงตามสมมติฐาน แต่ในภาคเกษตรกรรมไม่เป็นไปตามสมมติฐานสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากภาคเกษตรกรรมได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้เก็บจากการประกอบกิจการในกลุ่มนี้ และภาคการค้าสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน อัตราดอกเบี้ยผันผวน ปัญหาราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตทำให้จัดเก็บได้ลดลง ค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บภาษีแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ส่วนดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีนั้นพบว่ามีเพียงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีค่าต่ำกว่า 1 เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความสามารถในการจัดเก็บภาษีและดัชนีความพยายามในการ จัดเก็บภาษี พบว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไตรมาสที่ 1 และภารเงินได้นิติบุคคลในไตรมาสที่ 2 - 3 ของทุกปีมีค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บและค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บสูงกว่า ช่วงเวลาอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงการอื่นแบบเสียภาษีประจำปี ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ พบว่าค่าดัชนีความสามารถในการจัดเก็บมีค่าค่อนข้างคงที่ในแต่ละไตรมาส และมีค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บค่อนข้างสูง |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2533 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
112591.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License