กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2535
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of income change of farmers under the assets capitalization policy : a case study of Khunhan Land Reform Beneficiaries, Sisaket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งทิวา สันติแสงทอง, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกร -- ไทย -- รายได้
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรหลังจาก เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงศึกษาปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าร่วม โครงการ ของเกษตรกรในเขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อำเภอชุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เฉพาะผู้ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาอำเภอชุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ยังคงมีหนี้เงินกู้คงเหลืออยู่กับธนาคาร ณ 31 มีนาคม พ.ศ.2551 (ปีบัญชี 2550) การศึกษานี้ได้ข้อมูลข้อมูลปฐมภูมิ จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เข้า ร่วมโครงการและข้อมูลทุติยภูมิจากส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นโดยใชัสถิติเชิงพรรณนา และใช้การทดสอบด้วยเทคนิควิเคราะห์การถดถอย ได้แก่ การใช้คำเฉลี่ย ค่ารัอยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปร อิสระ มีผลต่อตัวแปรตาม หรือ การเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีรายได้ทั้งภาคการเกษตร และรายได้นอกภาคการเกษตร อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้ และส่วนที่ เหลือมีรายได้ทั้งภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคเกษตร เพื่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับ เงินกู้ มีเพียงส่วนนัอยมากที่รายได้ลดลง ซึ่งตัวแปรรายได้ก่อนผู้ภาคการเกษตร ค่าใชัจ่ายภาค การเกษตรการเข้ารับการอบรมจากโครงการ สามารถนำมาใช้พยากรณ์รายได้หลังกู้เงินภาค การเกษตรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกร ได้แก่ การได้รับเงินกู้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไม่ได้รับการอบรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กับโครงการ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113162.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons