Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2536
Title: พฤติกรรมการออมของบุคลากรในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Saving behavior of school personnel : a case study of schools in Phasichareon District under Bangkok Metropolitan Administration
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งทิพย์ สันทัดพร้อม, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมและปัจจัยการออมของบุคลากรใน โรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของบุคลากรในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยข้อมูลปฐมภูมิ รวบรวมจากประชากรในโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (เฉพาะข้าราชการครูที่ดำรง ตำแหน่งระดับครูผู้ช่วยถึงระดับผู้บริหาร) จำนวน 218 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มด้วยเทคนิคสุ่ม ตัวอย่าง โดยการใช้สูตร ของ Yamane ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน โดยประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อย ที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการออมของบุคลากรในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียน ในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการออม 3 อันดับแรก เกิดจากความต้องการ เพื่อเก็บไว้ใช้ยามเจ็บป่วย/ชรา/ฉุกเฉิน เพื่อเป็นหลักประกันของครอบครัว และเพื่อดอกเบี้ยและเงิน ปันผล ตามลำดับ รูปแบบการออม 3 อันดับแรก คือ การออมเงินกับสถาบันการเงิน การฝากเงินกับ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู กทม. การซื้อกรมธรรมประกันชีวิต ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของบุคลากรในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัย ที่มีผลต่อการพยากรณ์พฤติกรรมการออมของบุคลกรในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 3 ปัจจัย ซึ่งได้แก่ปัจจัยด้านชื้อกรมธรรม์ ประกันชีวิต มีค่า (๖) เท่ากับ 0.318 และมีค่าความน่าจะเป็น Sig = 0.009 ปัจจัยด้านซื้อกองทุนรวม มีค่า (๖)= -0.740 และมีค่าความน่าจะเป็น Sig = 0.043 ปัจจัยด้านชื้อทองคำมีค่า (๖) เท่ากับ-0.321 และมีค่า ความน่าจะเป็น Sig = 0.029 (3) ปัญหาอุปสรรคในการออมส่วนใหญ่เกิดจากภาระค่าใช้จ่ายสูง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2536
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129508.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons