Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2542
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวรรณภา ไชยทอง, 2520--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-29T03:11:08Z-
dc.date.available2022-12-29T03:11:08Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2542-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรหลังจาก เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าร่วม โครงการของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเฉพาะผู้ ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ที่ยังคงมีหนี้เงินกู้คงเหลืออยู่กับธนาคาร ณ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ปีบัญชี 2550) การศึกษานี้ได้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ตัวอย่าง และข้อมูลทุติยภูมิจากส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Method) และใช้การทดสอบด้วยเทคนิควิเคราะห์การถดถอย ได้แก่ การใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปรอิสระ มีผลต่อตัวแปรตาม หรือ การเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีรายได้ทั้งภาคการเกษตรและ รายได้นอกภาคการเกษตรอยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นคือร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้ และมีเพียงบางส่วนที่มีรายได้ภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคการเกษตรคงที่คือร้อยละ 19 เมื่อเทียบ กับรายได้ก่อนได้รับเงินกู้ และมีเพียงส่วนน้อยมากที่มีรายได้ลดลงคือร้อยละ 1 ซึ่งตัวแปรรายได้ก่อน กู้นอกภาคการเกษตรมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .012 ค่าใช้จ่ายภาคการเกษตรมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .040 จำนวนการรอครองที่ดินมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .045 จำนวนเงินกู้ที่ได้รับในโครงการแปลง สินทรัพย์เป็นทุนมีระดับนัยสำคัญเท่ากับ .003 การเข้ารับการอบรมจากโครงการมีระดับนัยสำคัญ เท่ากับ .045 ซึ่งสามารถนำมาใข้พยากรณ์รายได้หลังได้รับเงินกู้ภาคการเกษตรได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกร ได้แก่ การได้รับเงินกู้ไม่ เพียงพอต่อความต้องการ ไม่ได้รับการอบรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนth_TH
dc.subjectเกษตรกร -- รายได้th_TH
dc.titleศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeA study of income change of farmers under the assets capitalization policy : the case study of Trakanphutpron Land Reform Beneficiaries, Ubonratchatanee Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119255.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons