กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2556
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสือโฮก จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumption behavior of the elderly in Suahoak Municipality Chai Nat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรชาติ พูลเหลือ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้สูงอายุ -- โภชนาการ
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- ชัยนาท
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลตำบลเสือโฮก 2) สำรวจความต้องการสวัสดิการด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลเสือโฮก 3) วิเคราะห์ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยสุดท้ายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลเสือโฮก 4) เพื่อเปรียบเทียบการบริโภคเฉลี่ยของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสือโฮก กับ เส้นความยากจนของจังหวัดชัยนาท ปี 2550 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสือโฮก จำนวน 100 ตัวอย่าง โดนการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จากนั้น จะนำข้อมูลที่เก็บได้มาทำการวิเคราะห์หาสมการการบริโภค ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วย สุดท้าย และเปรียบเทียบการบริโภคกับเส้นความยากจน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน คือ 5,260.50 บาท การมี หลักประกันและการออมเฉลี่ย คือ 105,089.80 บาท ทรัพย์สินถาวรมีมูลค่าเฉลี่ย คือ 571,150.00 บาท ทรัพย์สินหมุนเวียนเฉลี่ย คือ 46,880.00 บาท และมีหนี้สินเฉลี่ย 96,700.00 บาท มีรายจ่าย การบริโภคส่วนใหญ่ คือ ทางด้านอาหาร และเครื่องดื่ม โดยคิดเป็นร้อยละ 52.83 ของการบริโภค ทั้งหมด ส่วนรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลเป็นรายจ่ายของการบริโภคที่ต่ำที่สุด 2) การสำรวจ ความต้องการทางด้านสวัสดิการ พบว่า ผู้สูงอายุทั้งหมด (ร้อยละ 100) มีความต้องการความต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ และอาสาสมัครเพื่อดูแลผู้สูงอายุ 3) การวิเคราะห์ค่าความ โน้มเอียงเฉลี่ยของการบริโภค พบว่า ผู้สูงอายุมีการบริโภคเฉลี่ยใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยที่ได้รับ โดยมีค่าความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภคเท่ากับ 0.9888 ค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายทางด้าน การบริโภครวมมีค่าเท่ากับ 0.469 ซึ่งได้จากสมการการบริโภค ดังนี้ C = 2733.421 + 0.469 Y 4) การเปรียบเทียบการบริโภคเฉลี่ยของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสือโฮก กับเส้นความยากจน ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้ความรู้กับประชาชนในวัยต่างๆ ได้รู้จักประหยัด อดออม รายได้ และทรัพย์สิน เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124448.pdfเอกสารฉบับเต็ม3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons