Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2570
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริพร สัจจานันท์ | th_TH |
dc.contributor.author | วาสนา นาควานิช, 2504- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-03T08:39:13Z | - |
dc.date.available | 2023-01-03T08:39:13Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2570 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อม ซึ่งดำเนินการโดยวิธีการนำเอามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจากในระดับภาพรวมทั้งประเทศมาจำแนกย่อยเป็นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และวิธีการทางตรงซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมการผลิตทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดและนำมาคำนวณหามูลค่าเพิ่ม ตามวิธีการที่สอดคล้องกับระบบบัญชีประชาชาติ กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2546-2548 ซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางอ้อมโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการจัดเก็บด้วยวิธีทางตรงโดยสำนักงานคลังจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ ผ่าน Website และหนังสือสั่งการ คู่มือ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการขอข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สัดส่วนร้อยละ ตาราง และกราฟผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อมและทางตรง มีความแตกต่างกัน ในด้านมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ด้านโครงสร้างของสาขาการผลิต และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่าง ในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระแก้ว คือ ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล การสำรวจข้อมูล การจัดประเภทของกิจกรรมในแต่ละสาขาการผลิต การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และวิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (3) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางตรง เป็นการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ สามารถแจกแจงรายละเอียดถึงปัญหาและเป็นเครื่องมือในการประกอบการตัดสินใจในด้าน ๆ ของจังหวัดได้เป็นอย่างดี | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ--ไทย--สระแก้ว | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อมและทางตรง : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว | th_TH |
dc.title.alternative | Comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indirect way : a case study of Sakaeo Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113114.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License