กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2570
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อมและทางตรง : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative analysis of the estimation of the gross provincial product by direct vs. indirect way : a case study of Sakaeo Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา นาควานิช, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ -- ไทย -- สระแก้ว
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อม ซึ่งดำเนินการโดยวิธีการนำเอามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจากในระดับภาพรวมทั้งประเทศมาจำแนกย่อยเป็นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และวิธีการทางตรงซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูล กิจกรรมการผลิตทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดและนำมาคำนวณหามูลค่าเพิ่ม ตามวิธีการที่สอดคล้องกับระบบบัญชีประชาชาติ กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2546-2548 ซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางอ้อมโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการจัดเก็บด้วยวิธีทางตรงโดยสำนักงานคลังจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ ผ่าน Website และหนังสือสั่งการ คู่มือ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการขอข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สัดส่วนร้อยละ ตาราง และกราฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในรูปแบบทางอ้อมและ ทางตรง มีความแตกต่างกัน ในด้านมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ด้านโครงสร้างของสาขาการผลิต และ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่าง ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัดสระแก้ว คือ ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล การสำรวจข้อมูล การจัดประเภท ของกิจกรรมในแต่ละสาขาการผลิต การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และวิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัด (3) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางตรง เป็นการจัดเก็บข้อมูล กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ สามารถแจกแจงรายละเอียดถึงปัญหาและเป็นเครื่องมือ ในการประกอบการตัดสินใจในด้าน ๆ ของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2570
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113114.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons