Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2578
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิเชษฐ แซ่ว่อง, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-04T03:25:47Z-
dc.date.available2023-01-04T03:25:47Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2578-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภครถจักรยานยนต์ ในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของอุปสงค์กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือการวิจัยโดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีและไม่มี รถจักรยานยนต์ จำนวน 500 คน ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 - มกราคม พ.ศ. 2552 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาใช้วิธีคำนวณค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้ สมการถดถอยแบบลอจิสติค ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีรถจักรยานยนต์ 400 ราย (ร้อยละ 80) ไม่มีรถจักรยานยนต์ 100 ราย (ร้อยละ 20) ผู้ที่มีรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-34 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส./ปวท. อาชีพพนักงานบริษทเอกชนรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 - 10,000 บาท ซื้อด้วยวิธีเงินผ่อน ซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 35,000 - 40,000 บาท เป็นรถประเภทครอบครัว ชนิดเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ขนาดเครื่องยนต์ 101 - 125 ชีซี ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ระยะทางเฉลี่ยที่ใช้ 15-30 กิโลเมตรต่อวัน วัตถุประสงค์หลักคือใช้เป็นยานพาหนะไปประกอบอาชีพ ช่วงเวลาที่ ใช้รถจักรยานยนต์ 18.01 - 21.00 น. (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร คือ ราคา รายได้ เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ซื่งสอดคล้องกับ สมมติฐาน (3) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคารถจักรยานยนต์ ถ้าราคารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (100 บาท) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 0.5 ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับรายได้ของผู้บริโภค เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (100 บาท) ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปริมาณความต้องการ รถจักรยานยนต์มีความแตกต่างกันในระหว่างเพศ โดยเพศชายมีอุปสงค์ต่อการใช้รถจักรยานยนต์เป็น 2.724 เท่า ของเพศหญิง ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 7.9 ปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์ใน ทิศทางตรงกันข้ามกับระดับการศึกษา เมื่อระดับการศึกษาสูงขึ้นปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์ลดลงร้อย ละ 58.7th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectจักรยานยนต์ -- การตลาดth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of factors affecting demand for using motorcycle of consumers in Bangkok Metropolisth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119822.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons