Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2587
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธัชธรรม์ ณ สงขลา-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-04T06:50:11Z-
dc.date.available2023-01-04T06:50:11Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2587-
dc.description.abstractการศึกษาความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จํากัด ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพโดยทั่วไปของทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จํากัด (สอ.นย.) (2) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน สอ.นย. (3) เพื่อศึกษาปัญหาและขอเสนอแนะความ ต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยใน สอ.นย.ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือคณะกรรมการดำเนินงานจำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่ในฝ่ายจัดการสหกรณ์ จํานวน 29 คนและสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ t-test และค่าความ แปรปรวนทางเดียว(ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) ทรัพยากรมนุษย์ใน สอ.นย. ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตํ่ากว่า 30 ปีการศึกษาตํ่า กว่าปริญญาตรีมากที่สุด มีระยะเวลาการเป็นสมาชิก1-5 ปี และมีเงินเดือน ตํ่ากว่า 15,000 บาท มีชั้นยศจ.ต – พ.จ.อ. มากที่สุด (2) ความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยใน สอ.นย.โดยรวม คณะกรรมการดาเนินการ มี ความต้องการ ในการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95) โดยเฉพาะด้านทัศนคติเกี่ยวกับงานสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 4.14) และ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย 4.05) ฝ่ายจัดการโดยรวมมีความต้องการในการพัฒนา อยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.09) ด้านที่มีความต้องการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านทักษะในการปฏับัติงาน (ค่าเฉลี่ย 4.30) และ ด้านทัศนคติเกี่ยวกับงานสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 4.19) และในส่วนของสมาชิกโดยรวมมีความต้องการในการ พัฒนา อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.33) ด้านที่มีความต้องการพัฒนา คือ ด้านทัศนคติเกี่ยวกับงานสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 3.56) และ ด้านองค์ความรู้ (ค่าเฉลี่ย 3.32) (3) ปัญหาและขอเสนอแนะ ความต้องการในการพัฒนาทรัพยากร มนุษยใน สอ.นย. เช่น คณะกรรมการไม่ค่อยมีเวลาให้กับสหกรณ์มากนักเนื่องจากมีงานประจำอยู่แล้ว ทําให้มีเวลา หรือโอกาสเข้าร่วมในการพัฒนาองค์บุคคลน้อยฝ่ายจัดการขาดจิตสำนึกในการให้บริการแก่สมาชิก สมาชิกมีความรู้ เกี่ยวกับสหกรณ์น้อยมากโดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ควรจัดให้มีการศึกษาอบรมกรรมการเพื่อให้ความรู้ก่อนเขาปฏิบัติงาน ควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีในสหกรณ์มาใช้ในการให้บริการให้มากขึ้นและใช้ให้ เกิดประโยชน์ตรงกับความ ต้องการมากที่สุด ส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์และการเป็นสมาชิก สหกรณ์ด้วยการแนะนำและการฝึกอบรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธินth_TH
dc.subjectการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัดth_TH
dc.title.alternativeHuman resources development requirements of the Marrine Corps Saving and Credit Cooperative Ltd.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were (1) to study general state of human resource in Marine Crops Savings and Credit Cooperative Ltd, (2) to study of Human Resources Development Requirements of the Marine Corps Saving and Credit Cooperative Ltd, (3) to study problems and suggestions of Human Resources Development Requirements of the Marine Crops Savings and Credit Cooperative Ltd. Population used in this study was 15 members of operating committee, 29 officers from cooperative management department, and 374 members from sample group. Instrument used in this study was questionnaire. Data was analyzed by Descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, the t-test and ANOVA. Findings revealed that: (1) most of human resource in Marine Crops Savings and Credit Cooperative Ltd.were male at the age of lower than 30 years old, with lower education than Bachelor’s Degree, had been a member of the cooperative for 1 – 5 years, and with a salary less than 15,000 Baht per month. Most of them held a rank of Petty Officer Third CLASS (3 PO) - Chief Petty Officer First Class(1 CPO); (2) generally, the need of human resource development in Marine Crops Savings and Credit Cooperative Ltd. was in a high level (mean = 3.95), especially in term of attitude toward cooperative operation (mean = 4.14) and skill in work operation (mean = 4.05). Management department, in general, needed to be developed in a high level (mean = 4.09), the aspect that needed to be developed most were skill in work operation (mean = 4.30) and attitude toward cooperative operation (mean = 4.19). In term of members, in general, it needed to be developed in a medium level (mean = 3.33), the aspect that needed to be developed most were attitude toward cooperative operation (mean = 3.56) and knowledge (mean = 3.32); (3) problems and suggestions of Human Resources Development Requirements of the Marine Crops Savings and Credit Cooperative Ltd. were members of committee had not much time for the cooperative as they had permanent job already, therefore, they had no time or chance to join the cooperative in human resource development; management department lacked of service mind in providing service to cooperative’s member; and members, especially new members, had very limited knowledge about cooperative. Training should be arranged for the members of committee before they start performing the work. More information system available in the cooperative should be implemented in service providing, and should be utilized to meet the requirement as most as possible. In addition, member should be encouraged to have knowledge and understanding in cooperative operation and to be a cooperative member by providing them advices and trainingsen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128376.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons