Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/259
Title: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบตรง
Other Titles: Problems of enforcing direct sales and direct marketing Act B.E.2545 : case study of consumer protection in case of e-commerce or Direct Marketing
Authors: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
มณฑิรา แก้วตา, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิมาน กฤติพลวิมาน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณี การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบตรง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการตลาดแบบตรง 2) ศึกษาความหมาย ประเภท และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบตรง และกฎหมายต่างประเทศ 3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 และ 4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบตรง วิธีการศึกษาวิจัยจะดำเนินการศึกษาค้นคว้าแบบวิจัยเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งรูปแบบของหนังสือ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาลและตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งประมวลกฎหมายและพระราชบัญญัติ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษากรณีการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบตรง จากการศึกษาพบว่าการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดแบบ ตรง มีปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 คือ 1) ปัญหาในเรื่อง คำนิยาม เนื่องจากไม่ได้มีการให้คำนิยามเกี่ยวกบผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงไว้โดยเฉพาะจึงเป็นปัญหาในการตีความว่าผู้ประกอบธุรกิจลักษณะใดบ้างที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 2) ปัญหาเรื่องการส่งมอบเอกสาร สัญญาซื้อขาย และการกำหนดรายละเอียดของสัญญา โดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดของ สัญญาไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และไม่ได้กำหนดถึงวิธีการในการส่งมอบเอกสารสัญญาไว้ ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหวางผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภค 3) ปัญหาการเปลี่ยนสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่อง โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดถึงลักษณะของสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องที่ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนสินค้าได้ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ต้องการคืนสินค้า 4) ปัญหาการบอกเลิกสัญญา การคืนสินค้า และการกาหนด ประเภทสินค้า กฎหมายนี้ยังไม่ได้มีการกาหนดถึงประเภทสินค้าที่จะสามารถคืนได้หรือไมได้ไว้เป็นการเฉพาะ 5) ปัญหาการจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เนื่องจากกฎหมายฉบับดังกล่าวกาหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ต่อกระทรวงพาณิชย์อีกแห่งด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน ทำ ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลีกเลี่ยงที่จะทำการจดทะเบียนดังกล่าว จากประเด็นปัญหาที่พบข้างต้น ผู้ศึกษาจึงได้มีการเสนอแนะแนวทางแก้ไขโดยให้มีการนำกฎหมายของสหภาพยุโรป กฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์ กฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และกฎหมายของประเทศ สหรัฐอเมริกา มาเป็นแนวทางในการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพื่อให้สอดรับกบเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/259
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib151578.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons