Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2601
Title: | แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร |
Other Titles: | Guidelines for development of innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon |
Authors: | กุลชลี จงเจริญ อาริยา เจ๊ะยะหลี, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำทางการศึกษา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี การสร้างเครือข่ายการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การสร้างบรรยากาศแห่งการส่งเสริมองค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยี การมีคุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วมในการทำงานและทำงานเป็นทีม การคิดสร้างสรรค์ การมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง และการบริหารความเสี่ยง ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (1) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมหลักสูตรเสริมสร้างทีมงานและการบริหารงานเป็นทีมแก่ผู้บริหาร และผู้บริหารควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (2) หน่วยงานที่รับผิดชอบควรพัฒนาให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อม และผู้บริหารควรเป็นแม่แบบใน การสร้างบรรยากาศแบบเปิด (3) หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดประกวดและคัดเลือกวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและผู้บริหารควรสำรวจตัวเองและฝึกปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่อง (4) หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดหลักสูตรพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารด้วยวิธีที่หลากหลายและผู้บริหารควรพัฒนาตนเองและปรับเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดการสัมมนาแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสถานศึกษา และผู้บริหารควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่สามารถบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (6) หน่วยงานระดับเขตพื้นที่ควรนิเทศ ติดตามและให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ แก่สถานศึกษาอย่างเป็นระบบและผู้บริหารควรพัฒนากระบวนการคิดของสมองแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างบุคคลอื่น (7) ผู้บริหารควรจัดตั้งกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (8) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาความคิดและแนวปฏิบัติเชิงบวกและผู้บริหารควรฝึกให้เป็นคนคิดในเชิงบวก และ (9) กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการบริหารเชิงรุก และหน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีการสอนงาน ให้คำปรึกษา นิเทศกำกับ ติดตาม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2601 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License