กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2618
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) มาใช้ในการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา : ศึกษากรณีศาลอาญาตลิ่งชัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a computer assisted instruction program in the science and technology course on the topic of Eyes and Seeing for Prathom Suksa IV students at Wat Ongkarak School in Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ปรีชริน แขดอน, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: นักโทษ--ระบบติดตาม.
การปล่อยชั่วคราว--ไทย
การคุมประพฤติ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราว (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในศาลอาญาตลิ่งชัน กรณีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก อาทิเช่น บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษาวิจัยข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า(1) แนวคิดว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (2) ในต่างประเทศได้นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปล่อยชั่วคราวในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่มีเงื่อนไขอื่นใดที่มีความเข้มงวดเพียงพอที่จะควบคุมมิให้ผู้ที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวหลบหนีไปในระหว่างการพิจารณำแต่ (3) ศาลได้นาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปล่อยชั่วคราวกับความผิดทุกประเภท และเปิดโอกาสให้ศาลสามารถเรียกประกันหรือหลักประกันร่วมด้วย ดังนั้น (4) ผลการวิจัยจึงเสนอแนะว่าควรแก้ไขข้อบังคับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 ข้อ 3 โดยยกเลิกการเรียกหลักประกันร่วมกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สาหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี และควรนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ต่อเมื่อ ศาลพิจารณาเห็นว่าหากไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ศาลจะสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
166868.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons