Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2639
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Factors related to unpaid loan of Muang Agricultural Cooperative Limited's member, Muang District, Surin Province
Authors: โอภาวดี เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพงษ์ สวนงาม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์--สมาชิก
การชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: สหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ เพียง 4 ธุรกิจ คือ ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือก โดยมีรายได้หลักจากธุรกิจสิน เชื่อ ในระหว่างปืสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550 พบว่า สมาชิกมีหนี้ค้างชำระเกินกำหนดต่อสหกรณ์คิดเป็นร้อยละ 40 ของสมาชิกทั้งหมด ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่่อน ๆ การศึกษาคั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร สังคมและเศรษฐกิจกับการล้างชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านอื่นกับการค้างชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการ แก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระเกินกำหนดของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็น สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเมืองสุรินทร์ จำกัด ที่มีหนี้ค้างชำระ เกินกำหนด จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้้อมูล โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่า เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และใช้ค่าไค-สแควร์เพื่อศึก ษาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ห ญิงมีอายุ 56 ปี ขึ้นไป สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานเฉลี่ย 2.54 คนต่อครัวเรือน มีรายได้และรายจ่ายทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรต่ำ ผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพการเกษตรลดลง เนื่องจากประสบภัยจากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้เงินกู้เพื่อจัดหาบี้ย และการบริโภคอุปโภคในครอบครัว จะชำระเงินกู้ เมื่อเพื่อนสมาชิกและผู้นำกลุ่มมาชักชวน การประสบภัยธรรมชาติและนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรมีผลต่อการด้างชำระคืนเงินคู้ กลุ่มตัวอย่างเห็น ด้วยอย่างยิ่งกับการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ของสหกรณ์ กลุ่มตัวอย่างมีหนี้สินหลายทาง ต้องการให้สหกรณ์แก้ไขโดยการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ให้ผ่อนชำระ และส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายไต้ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต้านประชากร สังคม เศรษฐกิจและปัจจัยอื่นกับการด้างชำระหนี้พบว่า อายุและนโยบายกองทุนฟื้นฟูเ กษตรกรมีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้อย่า งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2639
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-113061.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons