Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2640
Title: | การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ศุภนิมิตแม่หอพระ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Solving outstanding debt problems of Supanimit Mae Ho Phra Credit Union Cooperative Limited Chiang Mai Province |
Authors: | ศิริลักษณ์ นามวงศ์ นนท์พิชิต ขอนทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนศุภนิมิตแม่หอพระ การชำระหนี้ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ 2) ความเห็นของสมาชิกที่มีต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้เงินกู้ค้างชำระของสมาชิก และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่หอพระ จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 1) การวิจัยเชิงปริมาณประชากร มีกลุ่มตัวอย่างขนาด 168 คน โดยใช้สูตร Taro Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไควสแควร์ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 15 คน ฝ่ายจัดการสหกรณ์ 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปในการดำเนินการธุรกิจสินเชื่อ พบว่า สหกรณ์ลูกหนี้ให้กู้ยืมค้างชำระร้อยละ 79.86 ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดี จำนวน 11,720,162 บาท ขาดทุนสะสม 12,382,245 บาท มูลค่าหุ้นคงเหลือ (0.19) บาท สหกรณ์มีความระมัดระวังในการจ่ายสินเชื่อ และดำเนินคดีตามกฎหมายกับลูกหนี้ผิดนัดชำระ 2) ความเห็นของสมาชิกที่มีต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้เงินกู้ค้างชำระ พบว่า สมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51- 60 ปี การศึกษาประถมศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรื่อน 3-4 คน อาชีพหลักภาคการเกษตร คือ ทำนา ร้อยละ 38.10 อาชีพอื่นนอกเหนือภาคเกษตรกร เป็นต้น และระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อหนี้เงินกู้ค้างชำระ พบว่า ปัจจัยด้านการผลิตและการตลาดอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของสหกรณ์อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านภัยธรรมชาติและนโยบายรัฐบาลอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้เงินกู้ค้างชำระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีรายได้ต่อปีรายจ่ายครัวเรือนจากภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อปี ภาระในการส่งเสียบุตรหลานเรียนหนังสือ หนี้ ธ.ก.ส. และกองทุนหมู่บ้าน ด้านปัจจัยการผลิตและการตลาด ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ สภาพดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก พันธุ์พืชไม่มีคุณภาพ ผลผลิตราคาตกต่ำและขาดตลาดรองรับ ด้านภัยธรรมชาติและนโยบายรัฐ ได้แก่ ฝนแล้ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชและด้านการปฏิบัติงานของสหกรณ์ ได้แก่ ไม่อธิบายรายละเอียดสัญญาเงินกู้ ไม่ติดตาม เร่งรัดการชำระหนี้อย่างจริงจัง ไม่ดำเนินคดีให้ถึงที่สุดกับผู้ที่ผิดนัดชำระ ไม่ให้กู้ใหม่หรือให้กู้ล่าช้า ไม่ขยายเวลาชำระหนี้ สำหรับผู้ที่ประสบเหตุสุดวิสัยไม่ได้รับความสะดวกขณะมาติดต่อเจ้าหน้าที่และขาดความน่าเชื่อถือและศรัทธา และ 3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้เงินกู้ค้างชำระของสมาชิก คือ ติดตามเร่งรัดการชำระหนี้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ส่งเสริมการออมทรัพย์ให้มากขึ้น สนับสนุนอาชีพเสริมเพิ่มรายได้หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ลดอัตราดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้และแนะนำแผนการผลิต ต้นทุนอาชีพและการจัดทำบัญชีครัวเรือน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2640 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
161549.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License