Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2646
Title: การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด : ศึกษาเฉพาะปีการเงิน 2546-2550
Other Titles: Financial statement analysis of Klong Thom Agricultural Cooperative Ltd. : for the fiscal year 2003-2007
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัดดา เตชะประสาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม--งบการเงิน
งบการเงิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินธุรกิจและฐานะการเงิน รวม ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ในการบริหารจัดการธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด ซึ่งมีขอบเขต การศึกษาโดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปีสหกรณ์และงบการเงิน เฉพาะปีการเงิน 2546- 2550 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Excel และการวิเคราะห์ทาง การเงิน โดยเทคนิค CAMELS Analysis ในจังหวัดกระบี่ มีสหกรณ์ทั้งสิ้น 81 สหกรณ์แยกเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 66 สหกรณ์และสหกรณ์นอกภาคเกษตร จำนวน 15 สหกรณ์โดยสหกรณ์นอกภาคเกษตร มักไม่มีปัญหาใน ทางการบริหารจัดการมากนัก แต่สำหรับจังหวัดกระบี่ สหกรณ์ภาคการเกษตรที่สามารถดำเนินธุรกิจ มี จำนวน 58 สหกรณ์ หยุดดำเนินงานและไม่ดำเนินธุรกิจ จำนวน 23 สหกรณ์ ทำให้พบปัญหาความยุ่งยาก ในการบริหารจัดการ เนี่องจาก สหกรณ์ภาคการเกษตร เป็นการดำเนินธุรกิจกับสมาชิกที่มีอาชีพ หลากหลายในด้านการเกษตร การประมง ฯลฯ ซึ่งเป็นเหตุผลหนี่งของอาชีพสมาชิกที่ไม่สามารถกำหนด กฎเกณฑ์รายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน/ปี ได้จึงทำให้สหกรณ์ภาคการเกษตรในปัจจุบันมีผลประกอบการ (ขาดทุน) มากกว่ากำไร หรืออาจต้องขอเลิกสหกรณ์ก็มี และยังพบว่าสหกรณ์การเกษตรที่มีผลการดำเนินงาน มีกำไรสุทธิส่วนใหญ่ยังดำเนินงานมีประสิทธิภาพในระดับต่ำ ตรงกันข้ามกับสหกรณ์นอกภาคเกษตร ที่สมาชิกมีรายได้แต่ละเดือนอย่างสมํ่าเสมอ ปัญหาสภาพคล่องด้านการเงินจึงไม่เกิดขึ้นในสหกรณ์นอกภาคเกษตรมากนัก ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่มาก จนถึง ปัจจุบันเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ตามมาตรฐานการจัดขึ้นของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และผลการ ดำเนินงานโดยภาพรวม 5 ปีมีผลประกอบการขาดทุนรวม 3 ปีซึ่งมีความเสี่ยงสูง ด้านความเพียงพอของ เงินทุนและคุณภาพสินทรัพย์อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงถูกหนี้ค้างชำระไม่สามารถชำระหนี้ไต้ดามกำหนด ประกอบกับปัญหาด้านการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สูงไม่คุ้มกับรายได้จึงส่งผลให้ สหกรณ์ดำเนินงานขาดทุน และส่งผลกระทบให้สหกรณ์ต้องเลิกกิจการได้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2646
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119292.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons