กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2662
ชื่อเรื่อง: | การเลือกสาขาเศรษฐกิจสำคัญสำหรับการพัฒนาจังหวัดอุดรธานี : วิเคราะห์โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตจังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Identification of key economic sectors for Udon Thani Province development : Udon Thani input-output analysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริพร สัจจานันท์ ศิริพร กันยาทอง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ทรัพยากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจ--ไทย--อุดรธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงฅ์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองปัจจัยการผลิต - ผลผลิตของ จังหวัดอุดรธานี โดยการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การผลิตจากแบบจำลองปัจจัยการผลิต - ผลผลิตของประเทศไทย (2) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัดอุดรธานี โดยพิจารณาผลกระทบทางด้านผลผลิต ด้านรายได้ และด้านการจ้างงานที่เกิดขึ้นในจังหวัดอุดรธานี (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานี วิธีการวิจัยโดยใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิต – ผลผลิตของจังหวัดอุดรธานี มาพิจารณา จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัด โดยพิจารณาจากผลกระทบไปข้างหน้า และผลกระทบไปข้างหลังผลของการศึกษาพบว่า ผลการเชื่อมโยงทางด้านการผลิต สาขาลูกจ้างในครัวเรือน ส่วนบุคคล เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านผลผลิตเท่ากับ 3.828989 ผลการเชื่อมโยงทางด้านการจ้างงาน สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านการจ้างงานเท่ากับ 66.572434 และผลการเชื่อมโยงทางด้านรายได้ สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านรายได้เท่ากับ 2.708566 ซึ่งเมื่อทำการรวมอันดับความสำคัญของแต่ละสาขาการผลิตในผลการเชื่อมโยงโดยรวมทุกๆ ด้านเข้าด้วยกันสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้เป็นสาขาการผลิตที่ส่งผลการเชื่อมโยงทั้ง 3 ด้านมากที่สุด หากมีการส่งเสริมในสาขาดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานี มีอัตราการเจริญเติบโตเพื่มขึ้น |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2662 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
121178.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License