Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2663
Title: | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดน่าน |
Other Titles: | Human resources administration of Agricultural Cooperatives in Nan Province |
Authors: | โอภาวดี เข็มทอง สมเกียรติ ส่วนบุญ, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--การบริหารงานบุคคล.--ไทย--น่าน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตลุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ และปัจจัยภายในของสหกรณ์ (2) เพ่ือศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดน่าน (3) เพ่ือศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดน่าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายในของสหกรณ์และ (4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า (1) เจ้าหน้าที่สหกรณ์ส่วนมากเป็นเพศหญิง และมีอายุระหว่าง 30 - 50 ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000.00 บาทถึง 20,000.00 บาท ประสบการณ์ทำงาน 6 ปีขึ้นไป และอยู่ในตำแหน่งมากกว่าสิบปื สหกรณ์ส่วนมากมีสมาชิกอยู่ระหว่าง 2,001 - มากกว่า 3,000 คน สินทรัพย์รวมอยู่ระหว่าง 50 - 200 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจอยู่ระหว่าง 101 – 200 ล้านบาท และผลประกอบการกำไร (2) กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ต้านการให้รางวัล ทรัพยากรมนุษย์มีค่าคะแนนสูงสุด รองลงมาต้านการปกป้องและธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ต้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และต้านการจัหาทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ ต้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากทุกหัวข้อ โดยหัวข้อเกี่ยวกับ รูปแบบสิ่งของและสิทธิประโยชน์ รวมทั้งบริการที่สหกรณ์ให้เจ้าหน้าที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ต้านการปกป้องและธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากทุกหัวข้อ โดยหัวข้อการดำเนินงานในด้านคุณภาพชีวิต ในการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ต้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากทุกหัวข้อ โดยหัวข้อการปฏิบัติต้านวินัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อโอกาสจ้างงานที่เท่าเทียมกันมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3) ความเห็นต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส คุณวุฒิการศึกษา รายได้ อายุงาน ตำแหน่งงาน อายุตำแหน่งงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ม่าเฉลี่ยสูงสุด จำแนกตามจำนวนสมาชิกมีอยู่ในระดับมาก และด้านการปกป้องและธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ปริมาณสินทรัพย์มีอยู่ในระดับมาก ปริมาณธุรกิจ และผลประกอบการกำไร มีอยู่ในระดับมากและด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ค่าเฉลี่ยสูงสุด ยกเว้น สหกรณ์ที่มีผลประกอบการขาดทุน มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลางและด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4) ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ ต้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา และการคัดเลือก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2663 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext-113063.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License