Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorศุภรัตน์ ตันติพงศ์วิวัฒน์, 2516-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-11T02:58:58Z-
dc.date.available2023-01-11T02:58:58Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2667en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือการศึกษาอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในการตัดสินใจกระทำผิดซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับความเสี่ยง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ต้องขังกระทำซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษ จำนวน 35 ราย ในเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ที่ได้มาจากการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังประจำเดือน มกราคม 2551 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและเกมทดสอบพฤติกรรมเสี่ยงของ Dr.Dale Whittington และนำข้อมูลที่ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อการพยากรณ์ Linear Regression ผลการวิจัย พบว่า ผู้กระทำผิดซ้ำส่วนใหญ่เป็นผู้ชายซึ่งมีอายุระหว่าง 24-29 ปี รู้จักยาเสพคดีครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 12-18 ปี มีพฤติกรรมรักความเสี่ยง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพก่อน ต้องโทษประกอบอาชีพรับจ้าง และรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือนผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำทราบถึงโทษของยาเสพติด เกือบทั้งหมดเคยกระทำผิดแล้วไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดซ้ำต้องโทษมาแล้ว 3-4 ครั้ง ผู้กระทำผิดซ้ำทั้งหมดมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล และ สิทธิตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจประกอบอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กับการคาดคะเนกำหนดโทษที่คาดว่าจะได้รับหากถูกจับกุม อัตรา ผลตอบแทนจากการกระทำผิด และพฤติกรรมชอบเสี่ยง ส่วนผู้กระทำผิดซ้ำที่ไม่ชอบเสี่ยงหรือปานกลางจะไม่กระทำผิดหากคาดคะเนโทษที่จะได้รับมากกว่า 10 ปี ฉะนั้นการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษให้มีความรวดเร็ว แน่นอน และมีโทษที่เหมาะสมกับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้กระทำผิดซํ้า เพื่อเป็นการข่มขวัญและยับยั้งผู้ที่คิดจะกระทำผิดให้เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าเสี่ยงกระทำผิดได้ในระดับหนึ่ง สำหรับ ความเป็นไปได้ในการกระทำผิดซ้ำในอนาคตหลังพ้นโทษ ผู้กระทำผิดซ้ำที่ว่างงานมีโอกาสกระทำผิดช้ำภายหลังพ้นโทษ การพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดซ้ำรัฐบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษา เพราะนอกจากจะเพิ่มโอกาสในการทำงานสุจริตและลดแรงกดดันที่จะต้องหันไปพึ่งวิธีการหารายได้ที่ทุจริตซึ่งจะส่งผลประโยชน์ทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับ รายจ่ายเพื่อป้องกันปราบปราม และบรรเทาความเสียหายจากการประกอบอาชญากรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับอาชญากรรมth_TH
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบอาชญากรรม กรณีศึกษาผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดให้โทษ ของเรือนจำจังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeAnalysis of the perceptions over returns and the influence over decision to commit crimes : a case study of recidivist prisons in drug crimes in Phuketen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114808.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons