กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2667
ชื่อเรื่อง: | วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบอาชญากรรม กรณีศึกษาผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดให้โทษ ของเรือนจำจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of the perceptions over returns and the influence over decision to commit crimes : a case study of recidivist prisons in drug crimes in Phuket |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ ศุภรัตน์ ตันติพงศ์วิวัฒน์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ยาเสพติดกับอาชญากรรม การกระทำผิดซ้ำ การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือการศึกษาอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในการตัดสินใจกระทำผิดซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับความเสี่ยง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ต้องขังกระทำซํ้าในคดียาเสพติดให้โทษ จำนวน 35 ราย ในเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ที่ได้มาจากการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังประจำเดือน มกราคม 2551 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและเกมทดสอบพฤติกรรมเสี่ยงของ Dr.Dale Whittington และนำข้อมูลที่ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อการพยากรณ์ Linear Regression ผลการวิจัย พบว่า ผู้กระทำผิดซ้ำส่วนใหญ่เป็นผู้ชายซึ่งมีอายุระหว่าง 24-29 ปี รู้จักยาเสพคดีครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 12-18 ปี มีพฤติกรรมรักความเสี่ยง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพก่อน ต้องโทษประกอบอาชีพรับจ้าง และรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือนผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำทราบถึงโทษของยาเสพติด เกือบทั้งหมดเคยกระทำผิดแล้วไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดซ้ำต้องโทษมาแล้ว 3-4 ครั้ง ผู้กระทำผิดซ้ำทั้งหมดมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล และ สิทธิตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจประกอบอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กับการคาดคะเนกำหนดโทษที่คาดว่าจะได้รับหากถูกจับกุม อัตรา ผลตอบแทนจากการกระทำผิด และพฤติกรรมชอบเสี่ยง ส่วนผู้กระทำผิดซ้ำที่ไม่ชอบเสี่ยงหรือปานกลางจะไม่กระทำผิดหากคาดคะเนโทษที่จะได้รับมากกว่า 10 ปี ฉะนั้นการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษให้มีความรวดเร็ว แน่นอน และมีโทษที่เหมาะสมกับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้กระทำผิดซํ้า เพื่อเป็นการข่มขวัญและยับยั้งผู้ที่คิดจะกระทำผิดให้เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าเสี่ยงกระทำผิดได้ในระดับหนึ่ง สำหรับ ความเป็นไปได้ในการกระทำผิดซ้ำในอนาคตหลังพ้นโทษ ผู้กระทำผิดซ้ำที่ว่างงานมีโอกาสกระทำผิดช้ำภายหลังพ้นโทษ การพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดซ้ำรัฐบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษา เพราะนอกจากจะเพิ่มโอกาสในการทำงานสุจริตและลดแรงกดดันที่จะต้องหันไปพึ่งวิธีการหารายได้ที่ทุจริตซึ่งจะส่งผลประโยชน์ทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับ รายจ่ายเพื่อป้องกันปราบปราม และบรรเทาความเสียหายจากการประกอบอาชญากรรม |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2667 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
114808.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License