Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2674
Title: แนวทางขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด จังหวัดระนอง
Other Titles: Sufficiency economic philosophy driving guideline for Choawsuangafae La-Un Cooperative Ltd., members Ranong Province
Authors: โอภาวดี เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธิดา ศรีวิไล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เศรษฐกิจพอเพียง--เกษตรกรรม
สหกรณ์การเกษตร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อมของ สมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด (2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด (3) เพื่อศึกษาการยอมรับและการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบติของสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด (4) เพื่อศึกษาขั้น ตอน/วิธีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด (5) เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนปรัช ญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกสหกรณ์ ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด วิธีการดำเนินการศึกษา ศึกษาจากสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนกาแฟละอุ่น จำกัด ที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ และค่าร้อยละ เพื่อหาคำตอบวัตถุประสงค์ข้อ (1) - (3) และจัดเวทีระดมความคิดเห็น เพื่อหาคำตอบวัตถุประสงค์ข้อ (4M5) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วสธุปรายงานผล 1. ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชายอายุระหว่าง 40 – 60 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักทำสวน อาชีพรองเลี้ยงสัตว์และเพาะเห็ด รายได้จากอาชีพหลัก ระหว่าง 5,000-20,000 บาท ต่อ เดือน รายได้จากอาชีพรอง ระหว่าง 1,000-2.,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายจากอาชีพหลักและอาชีพรองส่วนมาก ต่ำกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน สถานภาพทางเศรษฐกิจ มีรายได้มากกว่ารายจ่ายและมีเงินเหลือเก็บ ส่วนมากมีเงินออมตั้งแต่ 5,000 - 200,000 บาท ด้านหนี้สิน มีหนี้สิน ต่ำกว่า 50,000 บาท แหล่งรับข้อมูลส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ และปัจจัยแวดล้อมที่ผลักดัน ให้สมาชิกสหกรณ์นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยต้านสังคม ประเพณีวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีดามลำดับ (2) สมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 98.93 มีความรู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) สมาชิกร้อยละ 97.46 ยอมรับและนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการคำเนินชีวิต (4) มีขั้นตอนและวิธีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปไปใช้ประโยชน์ คือ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนร้ซึ่งกันและกันทั้งในและนอกชุมชน แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับตนเองและชุมชน (5) มีแนวทางขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. จุดประกายความคิดโดยให้ความรู้ ความเข้าใจ 2. ปลูกฝังหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีย งแก่สมาชิกสหกรณ์ 3. สร้างเครือข่ายแล้วนำไปขยายผลแก่สมาชิกในแต่ละคุ้มมโดยปฏิบัติเป็นจนเป็นวิถีชีวิต 4. มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชึ่งกันและกันภายในสหกรณ์ชุมชน และนอกชุมชนสม่ำเสมอ 5. ทุกกลุ่มกิจกรรมมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างครบวงจร
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2674
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-118167.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons