กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2682
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of factors affecting demand for motorcycles of private companies' employees in Samutprakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข
สัมพันธ์ แซ่อึ้ง, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
จักรยานยนต์
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--สมุทรปราการ
การศึกษาอิสระ-- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของความต้องการใช้รถจักรยานยนต์ของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอุปสงค์ กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ (4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการซื้อรถจักรยานยนต์ของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการวิธีวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เพื่อสอบถามพนักงานบริษัทเอกชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์อธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สมการการถดถอยแบนลอจิสติค เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานที่มีรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-30 ปี มีสถานะภาพโสด การศึกษาระดับ มัธยมปลาย/ปวช. มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 35,000-40,000 บาท เป็นรถประเภทรถครอบครัว ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยการไปดูรถที่โชว์รูมโดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องใช้ขับขี่เพื่อเดินทางไปทำงานและทำธุระอื่นๆ ระยะทางโดยเฉลี่ยต่อวันตํ่ากว่า 15 กิโลเมตร (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ของพนักงาน คือ รายได้ต่อเดือน ราคา รถจักรยานยนต์ และเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 (3) ราคารถจักรยานยนต์มี ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับอุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ ถ้าระดับราคาจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (100 บาท) นักงานจะซื้อรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 0.4 รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (100 บาท) พนักงานจะซื้อรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เพศชายมีอุปสงค์ต่อการใช้รถจักรยานยนต์เป็น 4.351 เท่าของเพศหญิง (4) ปัญหาจากการซื้อรถจักรยานยนต์ของพนักงานคือ รถจักรยานยนต์มีราคาสูงและรายได้ต่อเดือนของพนักงานค่อนข้างตํ่าทำให้ไม่มีกำลังซื้อ ส่วนอุปสรรคการซื้อรถจักรยานยนต์ของพนักงานคือไม่ชำนาญในการขับขี่และมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในการขับขี่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2682
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113541.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons