กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2691
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน กรณีศึกษา "สันติบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย" |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of Thai cooperative movement from past to present time : a case study "The Cooperative League of Thailand" |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญา หิรัญรัศมี อนุกูล สังข์ศิริ, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์--ประวัติ.--ไทย การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนาการขบวนการสหกรณ์ไทย 2) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์การพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ไทยโดยสัน นิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย วิธีการศึกษาโดยการวิเคราะห์จากเอกสารและข้อมูล (Documentary Research) โดยใซ้ช้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ซึ่งไค้จากการรวบรวมข้อมูลจากสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เอกสาร ตำรา รายงานวิจัยต่าง ๆ และ website ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยโดยใช้บริบทการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี PEST Analysis) และวิเคราะห์กระบวนการภายในสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎี McKinsey’s 7S Model ผลวิจัยพบว่า การเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี มีผลกระทบโดยตรงต่อรัฐบาล เริ่มมาตั้งแต่การนำ ระบบสหกรณ์มาใช้จนกระทั่งการจัดตั้งสหกรณ์ใน พ.ศ.2459 ซึ่งการส่งเสริมสหกรณ์นั้นลึกซึ้งมาก เพราะสหกรณ์ไม่เป็นเพียงแค่แหล่งเงินกู้ หรือแหล่งขายของ แต่สหกรณ์เป็น ระบบที่ดูแลสังคม ซึ่งเป็นทั้งแหล่งให้การศึกษา แหล่งเรียนรู้ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม การสร้างกู้นำ สิ่งทั้ง หลายเหล่านี้จะถูกซ่อนอยู่ภายในระบบสหกรณ์ทั้งสิ้น รัฐบาลเห็นความสำคัญของระบบสหกรณ์ในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และเป็น แหล่งเรียนรู้ของประชาชนผ่านระบบสหกรณ์ ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยใช้ทฤษฎี McKinsey’s 7S Model จะเป็นการแยกวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในแต่ละด้าน ตั้งแต่กลยุทธ์ขององค์การ (Strategies) เพื่อให้องค์การมีช้อไต้เปรียบในการแข่งขัน หรือพัฒนา ส่วนโครงสร้างองค์การ (Structure) เป็นระบบที่รองรับการลื่นไหลของงาน ระบบปฏิบัติงาน (System) เป็นการจัดระบบของงานเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย ส่วนบุคลากร (Staff) มีส่วนสำคัญทำให้งานประสบผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ทักษะความรู้ ความสามารถ (Skills) ของทรัพยากรบุคคลซึ่งมีทั้งต้านความถนัดและฉลาด รูปแบบการบริหาร จัดการและวัฒนธรรมองค์กร (Style) ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้บริหาร และประการสุดท้ายคือ ค่านิยมร่วม (Shared values) ซึ่งเป็นคุณค่าร่วมขององค์การเป็นค่านิยมและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิก ขององค์การจะสะท้อนออกมาเป็นนโยบายการส่งเสริมสหกรณ์ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยนโยบายของผู้บริหารเป็นตัวผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมและมีผลต่อการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสหกรณ์โดยมีปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี เป็นปัจจัย ภายนอกและเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ส่วนทฤษฏี McKinsey’s 7S Model ใช้ศึกษาปัจจัยภายในองค์กรทั้ง 7 ด้าน ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ซึ่งพบข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขหลายประการ และที่สำคัญจะต้องให้สหกรณ์ยอมรับในองค์การพร้อมที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อลดความซ้ำช้อนของงานและแบ่งงานในการพัฒนาสหกรณ์ออกให้ชัดเจน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2691 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_119359.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License