กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2692
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้าจำกัด จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors effecting to unpaid loan of takfa agricultural cooperative limited's members, Nakhonsawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรยุทธ บุญมาก, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกร--ไทย--นครสวรรค์
การชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
หนี้
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้า จำกัด 2) ศึกษาปัจ จัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้า จำกัด และ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไ ขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้า จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ที่เป็นหนี้ดค้างชำระ ณ ปืบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2552 จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใชํไนการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้ 0.797 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้า จำกัด มีหนี้ที่ค้างชำระกับสหกรณ์ คือ หนี้เงินถู้ระยะสั้น โดยเฉลี่ย 46,737 บาทต่อคน และหนี้เงินกู้ระยะปานกลางโดยเฉลี่ย 68,632 บาทต่อคน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตากฟ้า จำกัด ตามลำดับความสำคัญ คือปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ รายจ่ายจากอาชีพหลักในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพด และหนี้สินอื่นนอกเหนือจากการกู้ยืมจากสหกรณ์ ปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ ได้แก่ ภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงทำให้ผ ลผลิตเสียหาย และปัจจัยด้านการตลาด ได้แก่ ขาดสถานที่เก็บ ผลผลิต เพื่อรอราคาตามลำดับ ซึ่ง ปัจจัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของคัว แปรตาม คือ การเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ได้ร้อยละ 24.5 (น2=0.245) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ) แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก ได้แก่ (1) สหกรณ์ควรปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการยืดเวลาการชำระหนี้ให้สมาชิกสหกรณ์ (2) สมาชิกควรขยายพื้นที่การทำการเกษตร (3) สหกรณ์ควรจัดอบรมให้ความรู้และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรให้แก่ สมาชิก เพื่อนำไปใชํไนการผลิตอันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงและทำให้สมาชิกมีรายได้เพื่มขึ้นจึงสามารถนำเงินมาชำระหนี้ตามข้อผูกพันที่มีต่อสหกรณ์ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2692
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_129830.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons