Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบรรจบ เพชรพรม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-16T03:24:30Z-
dc.date.available2023-01-16T03:24:30Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2702-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับการ รับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ 2) ระดับการรับรู้ของสมาชิกกับสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทและเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคกับการรับรู้ของสมาชิกที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข สุราษฎร์ธานี จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกสามัญของสหกรณ์ ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2558 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน กำหนดตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ เพศหญิง ร้อยละ 82.8 เพศชาย ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 25-30 ปี ร้อยละ 23.00 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 66.7 สถานภาพสมรส ร้อยละ 57.7 มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 63.0 อายุการเป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่เกิน 10 ปีร้อยละ 51.1 สมาชิกทราบการประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์จาก เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำหน่วยงาน (สื่อบุคคล) ร้อยละ 16.7 2) ระดับการรับรู้ประเภทสื่อ สมาชิกรับรู้ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.18) โดยระดับการรับรู้สูงสุด คือ เอสเอ็มเอส (สื่อสมัยใหม่) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) ระดับการรับรู้เนื้อหาสื่อ สมาชิกรับรู้ข่าวสารจากสื่อแต่ละ ประเภท ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.57) โดยระดับการรับรู้สูงสุด คือ มีความน่าเชื่อถือ (สื่อสิ่งพิมพ์) อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.69) 3) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกมีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 สื่อบุคคลทุกประเภทมีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ยกเว้นผู้ตรวจสอบ กิจการไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทมีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อ ประชาสัมพันธ์ สื่อสมัยใหม่ทุกประเภทมีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เนื้อหาสื่อส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัญหาและอุปสรรคพบว่า สหกรณ์ขาดการแจ้งข่าวสารล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำ หน่วยงานขาดความรู้เรื่องสหกรณ์และไม่แจ้งข่าวสารให้สมาชิกทราบ และไม่มีเวลาเปิดอินเทอร์เน็ตทำให้ไม่ ทราบข่าวสารทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี--การประชาสัมพันธ์th_TH
dc.titleสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัดth_TH
dc.title.alternativePublic relation media and the perception of the members of the Surat Thani Public Health Saving Credit Cooperatives Limitedth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent research were to study 1) the personal factors of members of the Surat Thani Public Health Saving Credit Co-operatives Limited; 2) the members’ level of perception of the cooperatives’s (co-op’s) public relations; 3) the relationships between types of content and perception of the public relations media; and 4) the problems and barriers with members’ perception of the public relations media. This was a survey research. The sample population was 378 ordinary members of Surat Thani Public Health Saving Credit Cooperatives Limited who were registered as of 31 October 2015. The sample size was determined using the Taro Yamane method. The research tool was a questionnaire. Data were statistically analyzed using frequency, percentage, standard deviation and chi square test. The results showed that 1) 82.8 % of the samples were female and 17.2% male; 23% were in the 25-30 age range; 66.7% were educated to bachelor’s degree level; 57.7% were married; 63% had income in the range of 10,001-30,000 baht a month; 51.1% had been co-op members for no more than 10 years; and 16.7% knew about the co-op’s public relations from public relation personnels at their work unit (personal media). 2) By type of medium, the members’ overall level of perception of the co-op’s public relations was rated at “medium” level (average score 3.18) and the highest rating was for SMS (new media) at 3.63. Looking at content, the members’ overall level of perception of PR news from every medium was rated at “high” level (average score 3.57), and the highest rating was for the criteria of “credibility” (print media) at 3.69 points. 3) Members’ personal factors were related to their perception of the co-op’s public relations to a statistically significant degree at 0.05 confidence level. Every kind of personal media, with the exception of auditors, had a statistically significant relationship with the members’ perception of the co-op’s public relations. Every kind of print media had a statistically significant relationship with the members’ perception of the co-op’s public relations. Every kind of new media had a statistically significant relationship (P 0.05) with the members’ perception of the coop’s public relations. Most kinds of content had a statistically significant relationship (P 0.05) with the members’ perception of the co-op’s public relations. 4) As for problems and difficulties, it was found that the co-op failed to inform members of news in advance, some of the public relation personnels at work units lacked information about the co-op and did not inform members of news, and many members did not learn about news from the co-op’s website or facebook page because they did not have time to access the interneten_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151038.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons