Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2709
Title: แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Guidance for resolve and relief the outstanding debt of agricultural aooperatives and farmer groups in Udon Thani Province
Authors: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บรรเจิด ทองใบ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา หนี้ค้างชำระกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรของสหกรณ์การเกษตรและ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการกู้ยืมเงินและการชำระคืนเงินกู้ ของสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ปัญหาและอุปสรรคในการส่งชำระคืนเงินกู้กองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้รายงานกิจการประจำปี งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้รับรอง แล้ว ของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร จำนวน 6 สหกรณ์ 9 กลุ่มเกษตรกรแล้วนำมาวิเคราะห์อัตราส่วนทาง การเงิน และใช้ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 6 สหกรณ์ 9 กลุ่มเกษตรกร นำมาจัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) สภาพคล่องทางการเงิน ดูจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรใน จังหวัดอุดรธานีที่กู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พบว่า สภาพคล่องทางการเงินยังไม่ดี มีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยไม่ เพียงพอที่จะไปชำระหนี้ระยะสั้นได้ 2) ด้านการก่อหนี้ ดูจากอัตราหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุนของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่ม เกษตรกร พบว่า สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรมีอัตราส่วนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3) ด้านการทำกำไร ดูจาก อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน พบว่า สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรมี ประสิทธิภาพในการทำกำไรค่อนข้างต่ำ 4) สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีที่กู้ยืมเงินกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ส่วนใหญ่นำเงินกู้จากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ไปใช้ตามวัตถุประสงค์โดยให้สมาชิกกู้ยืมและ จัดซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการผลิตทางการเกษตร 5) การส่งชำระหนี้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ส่วนใหญ่ พบวาสหกรณ์ การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ไม่มีการส่งชำระหนี้คืนกรมส่งเสริมสหกรณ์ เนื่องจากสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย 6) ปัญหา อุปสรรคในการส่งชำระหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร พบว่า ด้านสมาชิกไม่มีรายได้ที่เพียงพอจึงทำให้ไม่สามารถส่งชำระหนี้คืนต่อ สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร และส่งผลให้สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถส่งชำระหนี้คืนกรม ส่งเสริมสหกรณ์ได้ 7) แนวทางการแก้ไข สำนักงานสหกรณ์จังหวัดควรเร่งรัดหนี้จากสหกรณ์การเกษตรและกลุ่ม เกษตรกรโดยทำหนังสือแจ้งเตือนให้สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรทราบถึงกำหนดระยะเวลาการส่งชำระหนี้คืน โดยเตือนก่อนถึงกำหนดชำระ 3 เดือน หลังจากนั้นให้แจ้งเตือนเป็นระยะ ๆ จนกระทั้งถึงวันกำหนดชำระ พร้อมทั้ง นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2709
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128693.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons