กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2710
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting cooperative time deposits
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ
สุรพศ ภักดี, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์
ปริมาณเงิน
เงินฝากธนาคาร
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ 2) ผลกระทบจากนโยบายการส่งเสริมระบบสหกรณ์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ต่อปริมาณเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ การศึกษาได้กำหนดแบบจำลองอธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินฝากประจำ ของสหกรณ์ออมทรัพย์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย แบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุด และใช้ข้อมูลทุตยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาสตั้งแต่ ไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2544 ถึงไตรมาสที่สี่ ปี พ.ศ.2551 ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินฝากประจำของสหกรณ์ออมทรัพย์ คือ รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อคน ดอกเบี้ยเงินฝากประจำของสหกรณ์ออมทรัพย์และปริมาณ เงินฝากประจำของสหกรณ์ออมทรัพย์ไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ด้วย ระดับความเชี่อมั่นร้อยละ 95 2) นโยบายการส่งเสริมระบบสหกรณ์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม ด้วยระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เนื่องจากในช่วงดังกล่าวรัฐบาลมุ่งเน้นจัดตั้งองค์กรการเงินระดับจุลภาคเพิ่มมากขึ้น เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME BANK) ธนาคารประชาชน กองทุนหมู่บัาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2710
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119800.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons