กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2719
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อการลงทุนระบบน้ำหยดสำหรับการเพาะปลูกการผลิตมันสำปะหลัง : กรณีศึกษาอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of financial feasibility for investment in drip irrigation system for planting cassava production : a case study of Nam Yuen District, Ubon Ratchatani |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ สุรัชนา ประวันเน, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มันสำปะหลัง--การผลิต--การลงทุน |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนระบบ น้ำหยดในการเพาะปลูกมันสำปะหลัง 2) วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรใช้ระบบน้ำหยดในการเพาะปลูกมันสำปะหลังกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เฉพาะปีการเพาะปลูก 2558/2559 จำนวน 100 ราย โดยแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด จำนวน 50 ราย และเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝนธรรมชาติ จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1) คำนวณกระแสเงินสดเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุน และคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน 2) การวิเคราะห์โดยใช้ฟังก์ชันการผลิตแบบคอบบ์-ดักลาส เพื่อให้ทราบว่าระบบน้ำหยดสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้จริงหรือไม่ 3) การวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองโพรบิท เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรลงทุนระบบน้ำหยดในการเพาะปลูกมันสำปะหลังผลการศึกษาพบว่า 1) การปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยดสามารถเพิ่มผลผลิต ได้มากกว่าการปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝนธรรมชาติถึง 24.69% มูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณโดยใช้อัตราคิดลดร้อยละ 7 ตลอดอายุโครงการ 20 ปีเท่ากับ 59,232.20 บาท มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1.57 ปี ดังนั้น ผลการวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า การลงทุนระบบน้ำหยดในการเพาะปลูกมันสำปะหลังมีความคุ้มทุน 2) ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรตัดสินใจใช้ระบบน้ำหยดในการเพาะปลูก มันสำปะหลังพบว่า โอกาสที่ผู้นำครอบครัวที่เป็นชายจะตัดสินใจปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดจะมีมากกว่าผู้นำครอบครัวที่เป็นหญิง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผู้ชายมีความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบน้ำหยดมากกว่าผู้หญิง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2719 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
151347.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License