กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/271
ชื่อเรื่อง: การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 : ศึกษากรณีการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Governing Sangha party according to Aprihaniyadhamma 7 : a case study of the Sangha Party in Mueang District, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระมหาพลพิพัฒน์ ใยอุ่น, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
สงฆ์ -- การปกครอง -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาการใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศึกษาสาเหตุที่เป็นปัญหาและอุปสรรค และ (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค การวิจัยครั้งนเป็นการวิจัยเชิงธุฌภาพโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ดำรงตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบล จำนวน 10 รูป และการ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมประมวลข้อมูล ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง และการ สังเกตการณ์แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนอหา วางแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ผลวิจัย พบว่า (1) มีการจัดประชุมกันอย่างต่อเนอง การประชุมแต่ละครั้งไม่ใช้เวลานานเกินไป มองปัญหาร่วมกัน หาแนวทางในการแล้วไขปัญหา การเริ่มและเลิกประชุมมีความพร้อมเพริยงกันมีคณะสงฆ์เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ การออกกฎระเบียบต่างๆ ยึดถือพระธรรมวินัยเป็นบรรทัดฐาน ยอมรับและยึดถือมติในที่ประชุม ปฏิบัติตามข้อบัญญติที่ได้บัญณัติไว้แล้ว การเคารพผู้อาวุโสมี 2 ลักษณะคือ ตามลำตับอาวุโสและตามตำแหน่งการปกครอง ทำหน้าที่โดยไม่มุ่งหวังลาภสักการะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ให้ความเสมอภาคกับทุกคนเท่าเทียมกัน ให้โอกาสในการทำงาน ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมใน การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา รักษาขนบธรรมเนียมประเพฌที่ดีงาม สนับสบุน ปกป้องให้คนดีมี ศีลธรรมได้ปกครองและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ (2) สาเหตุที่เป็นปัญหาได้แก่ เรื่องการห้ามเข้า สอบรับราชการของพระสงฆ์ การห้ามพระภิกษุสามเณรก่ายรูปบุคคลในที่สาธารณะ การห้ามลงสมัครรับ เลือกตั้ง ใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบบอัตตาธิปไตยในการปกครอง มีการวางแผนงาน โครงการน้อย การ ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นยังมีปัญหา และ (3) แนวทางการแก้ปัญหาและข้อเสนอแนะ ควรมีการออก กฎระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จัดอบรมเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยให้ สอดคล้องกับการปกครองในระบอบธรรมาธิปไตย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นให้มากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/271
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150148.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons