กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2727
ชื่อเรื่อง: | การประเมินมูลค่าจากการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Estimating economic value of tourism : a case study of Cha-am District, Phetchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ สุภาภรณ์ ริมธีระกุล, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ชะอำ (เพชรบุรี)--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว อำเภอชะอำ (2) ประเมินมูลค่าการใช้ (Use Value) ในการท่องเที่ยวของชายหาดชะอำ โดยวิธีวิเคราะห์ต้นทุนการเดินทาง (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวชายหาดชะอำ และการเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวเมื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชายหาด ชะอำ เปลี่ยนแปลงไป ในการดำเนินการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับสถิติการท่องเที่ยวด้าน รายได้ และจำนวนนักท่องเที่ยว และเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 100 ตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวอำเภอชะอำ สำหร้บการวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้แบบจำลองปัวซอง (Poisson) มีสมมติฐานว่าจำนวน ครั้งที่มาเที่ยวขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ฐานะทางด้านเศรษฐกิจสังคมของนักท่องเที่ยวรวมทั้งคุณภาพของสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวจากผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร และตั้งใจมาเที่ยวชะอำ โดยตรง โดยสาเหตุที่สำคัญคือเดินทางสะดวกไม่ไกลเกินไป และสภาพชายหาดชะอำ ยังคงมีความสวยงาม 2) ผลการคำนวณส่วนเกินผู้บริโภคต่อนักท่องเที่ยว 1 ราย มีค่าเท่ากับ 1,562.75 บาท และนำคิดคำนวณกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอำเภอชะอำ เฉลี่ยปีละ 3,083,380 คน ได้มูลค่าประโยชน์จากการท่องเที่ยวคิดเป็นตัวเงินจำนวน 4,818 ล้านบาท 3) ร้อยละ 31 ของนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวปีละ 2 ครั้ง ความสวยงามของสภาพแวดล้อมรผลต่อการ ตัดสินใจมาเที่ยว พบว่าเพียงร้อยละ 18 ยังคงมาเที่ยวอีกถ้าสภาพชายหาดและบรรยากาศทรุดโทรม และถ้าความใสสะอาดของน้ำทะเลเริ่มลดลงนักท่องเที่ยวยังคงมาเที่ยวอีกเพียงร้อยละ 17 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2727 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
127212.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License