กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2730
ชื่อเรื่อง: หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The non-performing loans of the Government Savings Banks in Lopburi Zone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส แน่นอุดร, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารออมสิน -- ไทย -- ลพบุรี
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินการให้สินเชื่อ ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี 2) ศึกษาผลกระทบของการเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธนาคารออมสินในเขตลพบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รวบรวมจากรายงานผลการดำเนินงาน ธนาคารออมสินเขตลพบุรี รายงานประจำเดือน รายงานประจำปีของธนาคารออมสิน ภาค 4 ข้อมูล สถิติธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาในส่วนของสภาพทั่วไปของการ ดำเนินการให้สินเชื่อ ผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อ เกณห์การพิจารณาให้สินเชื่อ และผลกระทบ ของการเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารในเขตลพบุรี และวิเคราะห์เชิงปริมาณโดย ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาสในช่วงไตรมาสที่สี่ปี 2547 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ธนาคารออมสินในเขตลพบุรี ทุกสาขามีปริมาณการให้สินเชื่อ และปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี 2) ผลกระทบของการเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ที่เพิ่มขึ้น คือ ธนาคารออมสินในเขตลพบุรีได้รับผลกำไรสุทธิลดลงและเกิดปัญหาการขาด สภาพคล่อง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี ณ ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ประกอบด้วย ปริมาณการให้สนเชื่อของธนาคารและดัชนีราคาผู้บริโภค มี ความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณหนีที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินในเขต ลพบุรี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินผู้ขั้นตํ่าของธนาคารออมสิน มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม กับปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี จากการศึกษาโดยปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินในเขตลพบุรี เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ปริมาณการให้สินเชื่อของธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินผู้ขั้นตํ่าของธนาคาร และดัชนี ราคาผู้บริโภค ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2730
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127175.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons