กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2736
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of saving behavior and related factors of factory staff in Bangkadi Indusdtrial Park, Pathumthanee province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา กลัดเกิด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม -- ไทย -- ปทุมธานี
พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาภาวะและรูปแบบการออม ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุผลในการออมของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรม บางกะดี จังหวัดปทุมธานี (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัด ปทุมธานี โดยใช้จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 120 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อิงหลักความน่าจะเป็น โดยการกำหนดโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยมีช่วงเวลา ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2551 - มิถุนายน 2551 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลจากการศึกษาพบว่า (1) พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเขตนิคมอุตสาหกรรม บางกะดี จังหวัดปทุมธานี ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการเก็บออม โดยปริมาณการเก็บออม น้อยกว่า 25% ของรายได้ ส่วนรูปแบบการออมนั้น นิยมเลือกฝากกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน และในอนาคตมีความตั้งใจที่จะเก็บออม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรองไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน รอง ลงมาเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามชรา (2) เหตุผลในการเก็บออมส่วนใหญ่ก็เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับ อนาคต รองลงมาก็เพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และ รายได้ประจำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2736
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119304.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons